วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นนำระดับท้องถิ่นไทย : จากมุมมองทฤษฏีชนชั้นนำ

Main Article Content

เดือนนภา เสนแก้ว

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นนำระดับท้องถิ่นไทย จึงต้องอาศัยมุมมองทฤษฏีชนชั้นนำแบบคลาสสิกและแบบใหม่ โดยนักทฤษฎีคนสำคัญคือ Gaetano Mosca, Vilfredo Pareto, และ C. Wright Mills ต่างก็แบ่งชนชั้นนำในสังคมออกเป็น 2 ระดับ มีระดับบนกับระดับล่าง ทั้งสองระดับมีบทบาทและอิทธิพลไม่เท่ากัน โดยชนชั้นนำระดับบนมีทุนนิยมทางเศรษฐกิจในการขับเคลื่อนทางสังคมเป็นตัวชี้วัดและแบ่งชนชั้นทางสังคม แต่ชนชั้นนำระดับบนยังต้องอาศัยการปฏิบัติและผลักดันให้เป็นจริงโดยชนชั้นนำระดับล่างอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองในท้องถิ่นไทย โดยมีลักษณะต่างตอบแทนเอื้อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน หรือที่เรียกว่า“กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง” แปรเปลี่ยนอำนาจทางเศรษฐกิจให้เป็นอำนาจทางการเมือง สะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมทางการเมืองท้องถิ่นไทยนั้นยังเกิดช่องว่างที่ไม่สามารถนำไปสู่การพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฌานิทธิ์ สันตะพันธ์. (2549). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย: รัฐธรรมนูญที่แท้จริงซึ่งไม่เคยถูกยกเลิก. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2559, จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1014

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 49-52.

พระครูปลัด เกษฎา ผาทอง. (2562). วัฒนธรรมทางการเมือง : แนวคิดสู่การพัฒนาสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 14-27.

รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2550). ชนชั้นนำในการเมืองไทยปัจจุบัน: การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุนวัฒนธรรมตามแนวปิแอร์ บูร์ดิเออ. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีชนชั้นนำ. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/10/blog-post_93.html

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2558). รายงานเรื่องกลไกเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในสังคมไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สมปอง รักษาธรรม. (2552). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้กับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยช่วงปีพ.ศ.2549-2552: ศึกษากรณีเปรียบเทียบ นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 5 จังหวัดภาคใต้. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

Gabriel A. Almond & Sidney Verba. (1956). The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown & Company.

Pye, L. W. (1966). Aspects of Political Development: An Analytic Study. Boston: Little Brown and Company.