รูปแบบการศึกษาของไทยกับการส่งเสริมทางการเมืองเพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

Main Article Content

ขวัญฤดี มีนันท์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการจัดการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของการ สร้างความเป็นพลเมืองและเป็นกลไกสำคัญในการเตรียมพลเมืองให้เป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพในอนาคต การศึกษานับเป็นพื้นฐานของการสร้างคนและพัฒนา ประเทศ เพราะเป็นเครื่องมือในการสร้างคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติและในการพัฒนาคน เพื่อให้เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศก็จะต้องอาศัยการศึกษาด้านหน้าที่ และความเป็นพลเมืองในการเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชน ในประเทศนั้นๆ มีความรู้ ทักษะ มีจิตสำนึก และตระหนักใน คุณค่า มีความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาท หน้าที่ และความ รับผิดชอบของสมาชิกทางสังคมที่มีต่อรัฐ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพียงแต่มีรัฐธรรมนูญที่ดีเท่านั้น แต่ประชาชนจะต้องเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยในสังคมต้อง เคารพสิทธิผู้อื่น เคารพความแตกต่าง เคารพกติกาในสังคม ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้าง ความเป็นพลเมืองให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับบการจัดการศึกษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง เพื่อที่จะช่วยกันสร้างคนไทยให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและเป็นพลเมืองที่ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิจฐเชต ไกรวาส,อนุจิตร ชิณสาร,เฉลิม เกิดโมลี,สกุล วงษ์กาฬสินธุ์,ชัยวัฒน์ ร่างเล็กและอาภาภรณ์ สุขหอม. (2561). รูปแบบการให้การศึกษาทางการเมืองเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารชุมชนวิจัย. 12(1), 228-244.

จิรพงศ์ มหาพจน์และเบญจวรรณ บุญโทแสง. สถาบันการศึกษากับการขัดเกลาทางสังคมที่มีต่อเยาวชนเพื่อความเป็นประชาธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 1(1), 187-208.

บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น, พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัยและสมบูรณ์(กรุงเทพฯ: บริษัท, 2552), 752

ปรตี ประทุมสุวรรณ์. (2562). การศึกษาเพื่อการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก : การเรียนรู้แบบบูรณาการสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 90-103.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1), 242-249.

ปฤณ เทพนรินทร์. (2562). ระบบคิดเชิงเหตุผลของการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมไทย. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. 12(1), 93-17.

พฤกษา เครือแสง. (2558). คุณภาพการศึกษาไทย กับมาตรฐานการบริการสาธารณะของรัฐ. วารสารนักบริหาร. 35(2), 46-60.

ไพบูลย์ ช่างเรียน,ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล ,ติน ปรัชญและณัฐวุฒิ บุ้งจันทร์. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์ความไว้วางใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(35), 261-274.

มานิตตา ชาญไชย. (2559). ความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชนไทย. สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556), 817. 14 บริษัทมติชน, พจนานุกรม ฉบับมติชน (กรุงเทพฯ: มติชน, 2547)

วิวัฒชัย หล่มศรี,ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง ตามระบอบ ประชาธิปไตยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563, จาก http://www.fpps.or.th/

ศิลปชัย ชัยสลาตัน ,นายสมชาย สิงห์ไชย และนายธีรชัย ภูบาลชื่น. ความหมายของพลเมือง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก https://sites.google.com/site/khwampenphlmeuxngkhxm

สมชาย แสวงการ. (2554). สร้างความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ.

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย. (2561). การพัฒนาการบริหารระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(1), 264-273.

สุทธิรักษ์ โรจนหัสดิน, เรชา ชูสุวรรณ, และ เอกรินทร์ สังข์ทอง.(2560).หลักคิดสำคัญของการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 207-217.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2556), 12.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, 14–17.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, คู่มือพลเมืองดีวิถีประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2558), 12.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย. (20 มกราคม 2550) สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563, จาก http://www.onec.go.th/Act/democ/content.htm

อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียน มัธยมศึกษา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาแผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. Thitima Metta. ความสำคัญของพลเมืองดี. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2563, จาก https://sites.google.com