การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส ภายใต้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

Main Article Content

พงศกร กาวิชัย
สมคิด แก้วทิพย์
สิทธิชัย ธรรมขัน
กาญจนาพร สายวงค์ฝั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ และ 2) ทราบข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ 1) ตัวแทนคณะทำงานหน่วยจัดการเรียนรู้ จำนวน 120 คน 2) กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน 3) คณะทำงานปฏิบัติการในพื้นที่ (พี่เลี้ยงภาค/ที่ปรึกษา) จำนวน 50 คน 4) ผู้บริหารกำกับทิศทางโครงการ กสศ. จำนวน 5 คน 5) องค์กรภาคีเครือข่าย จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 300 คน เน้นการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงใช้เครื่องมือการวิจัย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่มย่อย การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วม/สรุปบทเรียน และการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงพรรณนา โดยตรวจสอบความเที่ยงตรงข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบแบบสามเส้า


ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้และบทเรียนหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส ประกอบด้วย 1. การพัฒนาอาชีพบนฐานชุมชน 2. กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 3. กลไกการจัดการโดยชุมชน  4. การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาส 5. การบูรณาการกับหน่วยงานทั้งในและนอกชุมชน และ 6. กระบวนการหนุนเสริมเชิงวิชาการร่วมกับพี่เลี้ยง ส่วนข้อจำกัดและอุปสรรคต่อการหนุนเสริมทางวิชาการสำหรับหน่วยจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาทักษะกลุ่มแรงงานนอกระบบและด้อยโอกาส พบว่า 1. การทำงานและกิจกรรมพัฒนาอาชีพภายใต้สถานการณ์โควิค-19 2. ขาดการวิเคราะห์ทุนชุมชน หรือความพร้อมคณะทำงานไม่สอดคล้องกับการใช้ชุมชนเป็นฐาน 3. ความไม่ชัดเจนต่อการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการทั้งระบบอาชีพ 4. ขาดความเข้าใจบริบทชุมชนและการกระจายตัวของกลุ่มเป้าหมายในชุมชนสูง และ 5. ขาดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวและสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่ง่ายต่อการพัฒนาอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนเพื่อความเสมอทางการศึกษา. (2563). โครงการพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.eef.or.th/7362-2/

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2562). การพัฒนาอาชีพที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.eef.or.th/fund/community-base/

สมชัย จิตสุชน และคณะ. (2564). โครงการผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19: กลไกการรับมือ มาตรการช่วยเหลือ และวางแผนระยะยาว. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา โสมาบุตร. (2556). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/

Melaville, A., Berg, A., & Blank, M. (2006). Community based learning: Engaging students for success and citizenship. Washington DC: Coalition for Community Schools, Institute for Educational Leadership.