บุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง ณ สถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อการปรับตัวของผู้บริโภคและกิจการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรรณนารา ปวงคำ
วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้บริโภค และกิจการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในขอบเขตพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการสุ่มแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 80 คน เพื่อตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการบริโภคอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง และศึกษาแนวทางการปรับตัวในการให้บริการของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่าง จากสถานการณ์ โควิด-19 ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ด้วยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ โดยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคในการรับประทานและการใช้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างในสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้และอำนาจในการซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลต่อการปรับตัวของร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างที่ต้องรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การปรับตัวหรือการใช้วิถีชีวิตแบบ ทำให้เกิดการนำเทคโนโลยีต่างๆ ในการทำกิจกรรมและติดต่อสื่อสารของผู้คน จึงเกิดการปรับใช้กับบริการสั่งซื้อแบบออนไลน์ ไม่ใช่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพียงอย่างเดียว แต่ยังอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อเพิ่มยอดขายและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด และทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร อ่ำคง. (2559). การศึกษาพฤตกิรรมผู้บริโภคร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ในเขตเมืองพษิณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์. (2541). แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้ประกอบการ. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.researchsystem.siam.edu/images/researchin/

เชาวรัตน์ เชิดชัย. (2550). การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในเขตชุมชนแออัด เขตเทศบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น).

นันทิภา เจิดจำรัส. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัฒน์ สุจำนงค์. (2552). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทย์.

ภิรมณ์ แจ้งไธสงค์ และ มัลลิกา ธรรมจริยาวัฒน ทำเลที่ตั้งที่มีผลต่อกำรตัดสินใจเช่าอพารท์เมนท์ของนักศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

มัณฆนา วิงวอน. (2553). บุฟเฟ่ต์หมูกระทะกับการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคในกรุงเทพฯ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิริลักษณ สินธวาลัย. (2533). ทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กนักเรียนไทยในตัวเมืองที่ทีต่ออาหารว่าง. โภชนาการสาร, 21(4) , 101-103.

สงกรานต์ คงเพชร. (2555). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกเช่าอพาร์ทเมนท์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร.(ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

หทัยชนก โนชัย. (2552). พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการใช้บริการภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.