ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบล เชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วิราษ ภูมาศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า


ระดับการมีสวนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย พบวาโดยภาพรวมประชาชนมีสวนร่วมอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลตอการมีสวนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย พบวา ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเชิงดอย ได้แก อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สุทธิตอปี และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน สำหรับปัจจัยที่ไม่มีผลตอการมีสวนร่วมในการบริหารงาน ได้แก เพศ สถานภาพสมรส และอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา เสถียร. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนิคมคำสร้อย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชยสร สมบุญมาก. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจในกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 9. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) คณะศิลปศาสตร์ สถาบันรัชต์ภาคย์.

ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2550). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนชุมชนเพื่อการบูรณาการสู่การวางแผน พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม.3(2):101-112.

เชษฐ์ นิยมสุข. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

พิศมร เพิ่มพูล และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว.วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง.6(1), 168-211.

สากล พรหมสถิต. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองบุรีรัมย์. (รายงานการวิจัย)คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สุพัทธ์ พู่ผกา. (2547). การศึกษาลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการของประชาชนเพื่อการวิจัยและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง. (รายงานการวิจัย) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.