การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เทพดวงจันทร์ บุญธิเดช
รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์
วีณา นิลวงศ์
ภาวิณี อารีศรีสม
พิณนภา หมวกยอด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการหลัก 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมของธุรกิจท่องเที่ยวในหลวงพระบาง, สปป.ลาว 2) วิเคราะห์ระดับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคการโรงแรม และ  3) เสนอแนวทางในการจัดการและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การวิจัยใช้ทั้งเชิงปริมาณจากแบบสอบถามผู้ประกอบการ 114 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน และเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คน วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและข้อเสนอแนะที่เหมาะสม


ผลการศึกษาพบว่า 1) ธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบางเผชิญกับปัญหาหลัก ได้แก่ การพึ่งพาการท่องเที่ยวในภูมิภาค การขาดความยั่งยืน และการแออัดของนักท่องเที่ยวซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและบริการ นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อบริบทการท่องเที่ยว เช่น การรักษาพนักงานและการฝึกอบรมไม่เพียงพอ นำไปสู่ความท้าทายในการพัฒนา จุดแข็งของหลวงพระบางคือมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ขณะที่จุดอ่อนคือการขาดทรัพยากรและปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มต้นทุน 2) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นธุรกิจการท่องเที่ยวในหลวงพระบางมีระดับโดยรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านความสัมพันธ์ พบว่าการสร้างแรงบันดาลใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (r = .423) และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลมีความสัมพันธ์กับการจัดการทรัพยากรสังคม (r = .335) ขณะที่ด้านอื่น ๆ มีความสัมพันธ์น้อยหรือไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวในเมืองหลวงพระบางเน้นที่การเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และการปรับตัวที่รวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยส่งเสริมการเป็นตัวอย่างที่ดี การสร้างแรงบันดาลใจ และการพัฒนาทักษะของพนักงาน อีกทั้งยังมีการร่วมมือระหว่างองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานภายนอกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล. (2557). การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 186-193.

ธนายุทธ สิรินุตานนท์. (2561). กระบวนการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการฝึกอบรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร จันทร์ฉาย. (2558). ประสิทธิภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจากนโยบายภาครัฐสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การจัดการความรู้กับภูมิปัญญา. เอกสารประกอบการสอนวิชา 264504. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุษราคัม ปัญญา. (2551). การพัฒนาศักยภาพผู้นำในกระบวนทัศน์ใหม่ในพื้นที่โครงการพระราชดำริ หมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

พรเทพ นามกร, จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์, อุษณากร ทาวะรมย์ และปตนพรรชญ์ แพทย์ชัยวงษ์. (2566). ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของการจัดงานเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ PATTAYA COUNTDOWN 2020. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(2), 85-101.

วิไลพร ไชยโย. (2559). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้นำท้องถิ่นกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

สตีเฟ่น ชิพาน. (2554). การรับรู้ถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนชนบทในแขวงหลวงน้ำทา แขวงหลวงพระบาง แขวงคำม่วน และแขวงจำปาศักดิ์ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(1), 39-53.

สีทะลอน สีโพไช และภัทรธิรา ผลงาม. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการการส่งเสริมการลงทุนในแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(3), 156-170.

อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปในอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 111-125.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

MICT Government of Lao PDR. (2020). Luang Prabang Tourims Destination Management Plan 2020 - 2025. N.P.: DMP.

Philavong, V. & Onphanhdala, P. (2023). The post-pandemic green economic recovery, livelihoods, and adaptations in ASEAN. In Post-Pandemic Green Recovery in ASEAN N.P.: Routledge.

Yamano, T., Pradhananga, M., Schipani, S., Samson, J. N., Quiao, L., Leuangkhamsing, S. & Maddawin, A. (2020). The impact of COVID-19 on tourism enterprises in the Lao People’s Democratic, ADB BRIEFS, 1-8.