โครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เพ็ญนภา ทองปรอน
ไชยวัฒน์ เผือกคง
ธุวพล ทองอินทราช

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดของประชาชนผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน 2) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้วิธีวิจัยแบบผสม เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม จำนวน 108 ชุด ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดของประชาชนผ่านโครงการธนาคารโค-กระบือผ่านโครงการธนาคารโคกระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านความมีเหตุผล ด้านความพอประมาณ ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรค พบว่าโดยเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นรายด้าน ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านความมีเหตุผล ด้านภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และด้านความพอประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือ พบว่า หน่วยงานภาครัฐและแกนนำชุมชน ต้องใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเป็นแนวทางการปฏิบัติตนให้ประชาชนรู้จักการพึ่งพาตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้มีจิตสำนึกที่ดี เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังมาใช้ในการดำเนินการทุกขั้นตอน เพื่อก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาโครงการธนาคารโค-กระบือบนฐานของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเครือข่ายภาครัฐและชุมชนในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 14(3), 65-80.

พระหมี ถิรจิตฺโต (สีทน). (2561). การพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบบ้านหนองเอาะ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพลินพิศ สืบพานิช. (2566). พุทธสันติวิธีกับโครงการรพัฒนาธนาคารโค-กระบือที่สร้างสันติสุขแก่บุคคลและชุมชน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(4), 261-273.

วรเดช จันทรศร, อรรถ สมร่าง, ธันวา จิตต์สงวน และพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2551). การศึกษาวิจัยเพื่อขยายผลสู่สาธารณะเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ ดิน ป่า และการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ศศิภรณ์ จุลจงกล. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2565. เข้าถึงได้จาก https://sites.goole.com/site/allaboutsufficienteconomy/home/khwam-sakhay-khunkha-laea-pravochn-khxng-prachya-sersthkic-phx-pheiyng

สรรพศิลปศาสตราธิราช สาขาส่งเสริมการเกษตร. (2539). โครงการธนาคารโค-กระบือ. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565.เข้าถึงได้จาก https://web.ku.ac.th/king72/2539/kaset7.htm

สำนักงานปศุสัตว์. (2565). รายงานโครงการธนาคารโคกระบือ. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานปศุสัตว์.

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสน่ห์ จามริก. (2543). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565. เข้าถึงได้จาก http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F00659.pdf

Krejcie, R.V, & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.