การพัฒนาระบบส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระบบส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี (2) เพื่อศึกษาความต้องการระบบส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อระบบส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระบบที่เหมาะสมต่อส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี ได้แก่ การประยุกต์ใช้วงจรการพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบ DBLC และแผนภาพคลาส (Class Diagram) (2) ความต้องการระบบส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุพรรณบุรี ได้แก่ ความต้องการครูที่จบตรงสาขาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ หรือได้รับการอบรมพัฒนาให้มีศักยภาพในการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ มีทักษะการสอนผ่านเครื่องมือออนไลน์ และต้องการระบบ/เครื่องมือสนับสนุนการสร้างสื่อการสอนออนไลน์ และ (3) บุคลากรในสถานศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรีที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมการบริหารจัดการการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบส่งเสริมการบริหารจัดการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (S.D.=0.52)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2561.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จารุกิตติ์ สายสิงห์. (2564). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยแบบสร้างเครือข่ายงานวิจัยมีชีวิต. วารสารอินฟอร์เมชั่น, 28(1), 131-152.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 (น.3513-3528). มหาวิทยาลัยพะเยา.
วิรัตน์ เกตุเรือง, สุกัญญา แช่มช้อย และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 313-328.
วิไลวรรณ วงศ์จินดา, สุวิมล พิบูลย์ และอนันท์ คัมภิรานนท์. (2564). แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาขาวิชาทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร ดำอุไร. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อแอปพลิเคชันสำหรับครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 345-358.
Amin, M. M. and Paiman. N. (2022). University English Language Teachers’ Use Of Digital Platforms for Online. Teaching Emerging Technology in Learn Journal, 17(20), 134-148.
Bradley, V. M. (2021). Learning Management System (LMS) Use with Online Instruction. International Journal of Technology in Education (IJTE), 4(1), 68-92.
Farrell, P. (2010). School Psychology: Learning Lessons from History and Moving Forward. School Psychology International, 31(6), 581-598.