แนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย กรณีศึกษา: บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

รุ่งสุริยา เชียงชีระ
ประเสริฐ ปอนถิ่น
ธิติวุฒิ หมั่นมี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการการจัดการปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย 2) ระดับการประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย 3) แนวทางการจัดการแก้ไขที่ดินที่มีการผลักดันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติสู่ประชาชนในพื้นที่บ้านใหม่ล้านนา ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนในหมู่บ้านใหม่ล้านนา จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 13 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแบบพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) กระบวนการการจัดการปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชนบ้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ยั่งยืนและด้านการบริหารจัดการที่ดินเพื่อให้มีเอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและที่อาศัยด้วยความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านการใช้ที่ดิน คทช. ตามนโยบายของภาครัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม และด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ด้อยโอกาส โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การประยุกต์ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ 4 กับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) แนวทางการจัดการแก้ไขที่ดินที่มีการผลักดันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติสู่ประชาชนในพื้นที่บ้านใหม่ล้านนา การบริหารจัดการที่ดินของรัฐต้องมีการดำเนินนโยบายด้านที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยในรูปแบบของคณะกรรมการหรือการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องการจัดการที่ดินเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าสามารถแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวัลณัฎฐ์ ปาลีย์รวี, อภิรมย์ สีดาคำ และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(2), 50-64.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และเจด็จ คชฤทธิ์. (2560). การจัดการที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน: กรณีศึกษา ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 299-311.

นัยนา ศรีโมครา, นพดณ ปัญญาวีรทัต และอภิรมย์ สีดาคำ. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(1), 40-54.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2563). คู่มือการดำเนินโครงการบ้านพอเพียงชนบท และการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยโดยชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักบ้านมั่นคงและที่ดิน.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2565). การจัดการที่ดินแนวใหม่: การสนับสนุนการจัดการที่ดินโดยชุมชนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ตำบล. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://ref.codi.or.th/

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ. (2566). คู่มือการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.mnre.go.th/phitsanulok/th/about/content/2661

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ. (2562). การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1v1PtGDQHqvDBXuQbSfbXh4YBQ1mlQza3/view

อลิศรา ชัยสงค์, นพดณ ปัญญาวีรทัต และประเสริฐ ปอนถิ่น. (2566). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยายาลราชนครเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(2), 44-58.