การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามเกณฑ์ ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (x²)=3.76, df=2, P=0.15, GFI=1, AGFI=0.98, RMR=0.012, และ RMSEA=0.047 3) การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการบริหารงาน ซึ่งสามารถกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยพัฒนาเป็นรูปแบบที่เรียกว่า GAPA Model คือ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร การบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ การปฏิบัติงาน และการบริหารงาน เพื่อปรับปรุงพัฒนาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่น: ว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้
ฐิติรัตน์ ชะเอม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2538). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปริศนา พิมพา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2535). การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. and Tatham, R.L. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition. Prentice Hall: Upper Saddle River.