การจัดการความขัดแย้งในการดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บ้านหาดทรายรี จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุความขัดแย้งในการดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเพื่อเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งให้กับโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บ้านหาดทรายรี จังหวัดชุมพร โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้อง 24 คน ได้แก่ 1) กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 5 คน 2) กลุ่มนักวิชาการและองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 คน 3) ผู้นำชุมชนและประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 13 คน
จากการศึกษาพบว่า สาเหตุความขัดแย้งได้แก่ ความขัดแย้งด้านข้อมูลเป็นความขัดแย้งหลักจากการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกิดความไม่เชื่อใจกับหน่วยงานเจ้าของโครงการ ความขัดแย้งด้านค่านิยมเกิดจากการที่ประชาชนติดตามรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ข้อเท็จจริงในด้านลบของโครงการจากพื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดการคัดค้าน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับกลุ่มผู้คัดค้านโครงการ เป็นผลจากข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับส่วนความขัดแย้งด้านโครงสร้างเกิดจากผูกขาดอำนาจไว้ที่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคขาดการบูรณาการกับราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา ควรมีการเจรจาไกล่เกลี่ย พูดคุยระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการและกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เพื่อหาทางออกหรือข้อตกลง เพื่อหาแนวทางสร้างฉันทามติ ร่วมกัน การรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องให้ข้อมูลแก่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน และต้องรับฟังประชาชนมากขึ้นผ่านช่องทางที่หลากหลาย ควรสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). คู่มือความรู้การกัดเซาะชายฝั่ง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.dmcr.co.th.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2552). สิทธิชุมชนฐานทรัพยากร: สิทธิในการจัดการที่ดิน ป่าพลังงานและอุตสาหกรรม รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปี 2550 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เนตรทราย นิสสัยสุข. (2556). ผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ดระยองกรณีศึกษา ชุมชนตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิเชษฐ์ โสภณแพทย์ และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2556). การประเมินการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อนจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 7(3), 93-101.
ภิรดี ลี้ภากรณ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษ กรณีศึกษาชุมชนมาบชะลูด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รุจิกานต์ เสนาคง. (2558.) การประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกรณีศึกษาโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วชิรวัตร งามละม่อม. (2558). แนวคิดทฤษฎีประสิทธิผล. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.trdm.co.th.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2549). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางสังคมในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ยูโรการพิมพ์.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2554). แผนพัฒนาอุตสาหกรรมไทยใน 20 ปีข้างหน้ากระทรวงอุตสาหกรรม 2555. แผ่นแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ. 2555-2574. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
Moore, C. (1986). The Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict. San Francisco: Jossey – Bass.