การสร้างพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและไตเขินในบริบทการค้าและการท่องเที่ยว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

โกมินทร์ วังอ่อน
ชาญชัย ฤทธิร่วม
วรรณะ รัตนพงษ์
อารีย์ บินประทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและไตเขินในบริบทการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และสร้างข้อเสนอแนะต่อภาครัฐท้องถิ่นสำหรับการเสริมแรงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในท้องถิ่นชาติพันธุ์ให้สอดรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวเมืองชายแดน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาในชุมชนชาติพันธุ์อาข่าและไตเขิน ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยการศึกษาและสังเกตกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม จำนวน 20 กลุ่มวัฒนธรรม และการประชุมกลุ่มย่อยกับตัวแทนกลุ่มผู้นำชุมชนชาติพันธุ์ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จำนวน 10 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าและไตเขิน ใช้วัฒนธรรมเป็นสิ่งสร้างพื้นที่ทางสังคม ด้วยการผลิตวัฒนธรรมเพื่อสนองตอบกิจกรรมการท่องเที่ยวและบริการในท้องถิ่น ทั้งที่ดำเนินการเองและรัฐจัดขึ้น ได้แก่ การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีที่โดดเด่นในรอบปี การดนตรีและการละเล่น และการแสดงฟ้อนรำ การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเภทการแต่งกาย งานผลิตอาหารวัฒนธรรมและหัตถกรรมท้องถิ่นชาติพันธุ์ และการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมต่อแนวนโยบายและกิจกรรมท้องถิ่นของภาครัฐในการส่งเสริมความเป็นพหุสังคม ซึ่งการเสริมแรงทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในท้องถิ่นชาติพันธุ์ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธุ์และการกำหนดเครื่องมือเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การกำหนดตัวชี้วัดระดับการพัฒนา การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยว การกำหนดมาตรฐานสิ่งก่อสร้าง การพัฒนาคนท้องถิ่น และการตลาด เพื่อเป็นเชื่อมโยงพื้นทางชาติพันธุ์ให้สอดรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวเมืองชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช, บุญฑวรรณ วิงวอน, อัจฉรา เมฆสุวรรณ และเนตรดาว โทธรัตน์. (2565).

การจัดการทุนทางสังคมเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการท่องเที่ยวของชุมชนตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(3), 30-46.

จริยา โกเมนต์, เฉลิมชัย ปัญญาดี, บงกชมาศ เอกเอี่ยม และสุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2563). นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกับความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 608-620.

ณัฐชา ลี้ปัญญาพร และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2564). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 176-195.

ธนาวดี ปิ่นประชานันท์, ชมพูนุท ภาณุภาส และจุฑาธิปต์ จันทร์เอียด. (2565). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโวย ในพื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1348-1368.

นพพล อัคฮาด. (2564). ข้อเสนอสำหรับการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงนโยบายและการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(2), 85-100.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2563). ทบทวนแนวคิดทฤษฏีการรื้อฟื้นวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารมานุษยวิทยา, 3(1), 38-68.

นุชนารถ รัตนสุวงค์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 31-50.

พระโกศล มณิรตนา และพระมหาสุดใจ ชยวุฑฺโฒ. (2566). การเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3), 27-42.

ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร, วรรณดี สุทธินรากร, ทรงธรรม ปานสกุณ และดนัย ฉลาดคิด. (2564). การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 83-95.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). คนพลัดถิ่น แรงงานอพยพกับการก้าวข้ามพรมแดนรัฐชาติ ในอำนาจ พื้นที่และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

วรากรณ์ พูลสวัสดิ์, นงนุช ยังรอด และปิยนาถ อิ่มดี. (2565). การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยว โดยชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(2), 108-118.

วาที ทรัพย์สิน. (2562). การวางแผนการจัดการวัฒนธรรมชุมชน. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์, 9(2), 118-133.

สำนักงานจังหวัดเชียงราย. (2562). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย วันที่ 11 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.maesai.go.th/athf/km_fdownload/1568182493.pdf

Ferguson, J. (1999). Expectation of Modernity: Myths and Meanings of Unban Life on the Zambian Copper-belt. Berkeley: University of California Press.

Gruenwald, R. de A. (2003). Tourism and Ethnicity. Horizontes Antropologicos, 9(20), 141-159.

Lefebvre, H. (1991). The Production of Space. Oxford: Blackwell.