ประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ดรุณี นิลแก้ว
นพดณ ปัญญาวีรทัต
ธิติวุฒิ หมั่นมี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับประสิทธิผลบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มารับเบี้ยยังชีพเขตเทศบาลตำบลป่าแดด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากสูตรของของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 339 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีระดับความสัมพันธ์สูงมาก 3) ปัญหาอุปสรรค พบว่า ขาดการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงสวัสดิการของรัฐบาล เช่น เบี้ยยังชีพ เงินกู้ยืมประกอบอาชีพ และข้อเสนอแนะแนวทาง พบว่าควรมีระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ เช่น การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการบริการ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะการฟื้นฟู และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2543). การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

เกษม แก่นบุญ. (2552). แนวทางในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คะนอง พิลุนภ. (2561). รูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองกุงศรี อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เทศบาลตำบลป่าแดด. (2564). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://www.padad.go.th.

พระธนพร คุณสมฺปนฺโน และคณะ. (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สมประสงค์ ปริชาโน. (2561). สัมฤทธิ์ผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุของ องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณฑิตา ศรีพล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุรินทร์ นิยมางกูร. (2561). การบริหารจัดการงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปิญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.