คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับคุณภาพการให้บริการประชาชน 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขต่อคุณภาพการให้บริการ เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนทั่วไปที่ได้รับบริการจากคลินิกตา จำนวน 398 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุธรรมของคลินิกตาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการให้บริการ ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักสังคหวัตถุธรรม มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการประชาชนในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีระดับความสัมพันธ์สูงมาก จึงยอมรับสมมติฐาน 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่ ขาดการให้บริการโดยยึดประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลัก ขาดการรับฟังปัญหาหรือข้อซักถามของผู้รับบริการ และข้อเสนอแนะแนว พบว่า เจ้าหน้าที่ควรมีความกระตือรือร้นให้บริการด้วยการเอาใจใส่ให้บริการด้วยความสุภาพ อ่อนน้อม และควรมีการให้บริการโดยยึดประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลักให้การบริการที่ถูกต้องและแม่นยำ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัญญารัตน์ จงวิไลเกษม. (2561). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
จิตรา แสงผาบ. (2558). การให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ และวินิจ ผาเจริญ. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 12-20.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พิกุล กันทะพนม. (2564). รายงานประจำปีของคลินิกตา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. ใน การสัมมนาเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจในรอบปี 2563 และแนวโน้มในอนาคตปี 2564. (น. 13).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40.
วรยุทธ์ สถาปนศุภกุล. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(2), 1-9.
สรวัชร์ สุดแก้ว. (2563). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สามเณรเมธี เสี่ยบ่วง (คีลาวงค์). (2560). คุณภาพการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสำนักงานเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 591-592.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุชาติ ผาสุก และวัชระ ชาติมนตรี. (2565). ความคิดเห็นของผู้นำชุมชนที่มีต่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 21-29.
อภิรมย์ สีดาคำ, นพดณ ปัญญาวีรทัต และวินิจ ผาเจริญ. (2565). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(2), 23-32.
Millet, J.D. (1954). Management in the public service. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.