พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับแนวการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักพุทธบูรณาการ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาแนวทางพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่เกี่ยวกับแนวการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ส่วนระดับความคิดเห็นของประชาชนตามหลักพุทธบูรณาการ (สังคหวัตถุ 4) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพุทธบูรณาการส่งเสริมการจัดการนโยบายสาธารณะตามหลักพุทธบูรณาการ (สังคหวัตถุ 4) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลมีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ มีความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัญหา อุปสรรค และแนวทาง พบว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบนโยบาย รวมถึงประชาชนไม่มีความสนใจนโยบายด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และควรมีการประชุมกลุ่มแกนนำ และหาเครือข่ายในการจัดทำแผนสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสร้างจิตสำนึกและพลังจากประชาชนให้มีบทบาท ด้านการนำนโยบายและแผนไปปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย. (2550). สรุปสาระสำคัญมาตรฐานการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
เกศินี วีรศิลป์. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 3(1), 1-11.
ขนิษฐา หอมตะโก. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ด้านสิ่งแวดล้อมของสมัชชาสุขภาพจังหวัดภาคใต้ตอนบน. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 93-108.
ชุติมา อินทร์ตา. (2563). การรับรู้นโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพิศิษฐ์ ฐานุตฺตโร. (2559). การให้บริการสาธารณะตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลเวียงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วินิจ ผาเจริญ, เชษฐ์ ใจเพชร และภาวิดา รังสี. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดเวทีประชาคมชุมชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1), 1-11.
วิลดา อินฉัตร และอนันต์ ธรรมชาลัย. (2560). แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมใน ระดับท้องถิ่นของพื้นที่ภาคอีสานตอนใต้. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2), 41-42.
วุฒิสาร ตันไชย. (2557). การกระจายอำนาจและประชาธิปไตยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า.
อณิกร ดอนแก้ว. (2561). การรับรู้นโยบายสาธารณะของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาของบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.