การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรเทพ แสงโอภาส
ประเสริฐ ปอนถิ่น
อภิรมย์ สีดาคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักอปริหานิยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) หลักอปริหานิยธรรมมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการด้านสาธารณภัย ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่าขาดการมีส่วนร่วมในการใช้สิ่งก่อสร้างหรือโครงสร้างทางกายภาพเพื่อลดหรือหลีกเลี่ยงผลกระทบของภัยที่อาจเกิดขึ้น ขาดการมีส่วนร่วมในการสำรวจจุดเสี่ยงภัยภายในชุมชน และเตรียมกำลังคน และข้อเสนอแนะ พบว่า ควรส่งเสริมมีส่วนร่วมในการจัดฝึกอบรมการสร้างจิตสำนึก หรือให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงจากสาธารณภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการจัดการภัยพิบัติสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2562. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

ถาวร ทองประทีป. (2562). การมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนต่อการจัดการสาธารณภัย กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธงชัย สิงอุดม. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นตามหลักอปริหานิยธรรม. วารสาร มจร. เลย ปริทัศน์, 1(2), 81-96.

ประเสริฐ ปอนถิ่น, พระครูสาทรธรรมสิทธิ์ และโสภา ปอนถิ่น. (2564). แนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติของชุมชน: ศึกษากรณี ชุมชนบ้านจันทร์ และชุมชนบ้านเด่น ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 483-497.

เรืองฤทธิ์ ประเทียบอินทร์. (2563). การบริหารจัดการอุทกภัยของเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วินิจ ผาเจริญ, เชษฐ์ ใจเพชร และภาวิดา รังสี. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดเวทีประชาคมชุมชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 3(1),1-11.

สมพร คุณวิชิต. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการสาธารณภัยแบบเบ็ดเสร็จ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2564). ข้อมูลทั่วไปและงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จาก http://www.cmruir.cmru.ac.th›Bibliography

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2564). ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://www.chiangmaipao.go.th

อภิรักษ์ รุจิระภูมิ. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.