การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO Model ร่วมกับหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

The Development of Reading and Writing Achievement for Words with Irregular Spelling through the MACRO Model Combined with Electronic Storybooks of Grade 2 Students.

ผู้แต่ง

  • ชลทับ พิชัยกาล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จิรัฐิพร ไทยงูเหลือม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียน คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO Model หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน  และการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO Model   ร่วมกับหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา โดยการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO Model ร่วมกับหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 โรงเรียน     โรงเรียนบ้านสารภี และโรงเรียนบ้านฝังงา ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนนักเรียน 18 คน  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม       (Simple random sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ MACRO  Mode ร่วมกับหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ และแบบทดสอบความสามารถในการอ่านและการเขียน

ได้ค่าดัชนีความยากง่ายของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.25-0.75

ค่าดัชนีอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ มีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป และหาค่าความเชื่อมั่น (Relibility)

ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

และสถิติค่าที (t-test )

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียน

ประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียน

ประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียน

ประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

4.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียน

ประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27