การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นป.3โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต
Development of Thai Word Reading and Spelling Abilities of Grade 3 Students Using the Brain-Targeted Teaching Model
คำสำคัญ:
ความสามารถในการอ่านเขียนสะกดคำภาษาไทย, รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตก่อนและหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตก่อนและหลังการทดลอง 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70
ผลการวิจัยพบว่า
- ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
- ความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
- ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ความสามารถในการอ่านเขียนสะกดคำภาษาไทย, รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ต