เกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี

THERAVADA BUDDHIST PHILOSOPHY BASED AGRICULTURE IN SARABURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • วิธวินท์ ภาคแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม, ผศ.ดร. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท, จังหวัดสระบุรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “เกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธปรัชญา 3) เพื่อบูรณาการเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี 4) เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เรื่องเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี ซึ่งดุษฎีนิพนธ์ ได้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจากพระไตรปิฏก และอรรถกถา รวมทั้งเอกสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้สัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร, นักวิชาการทางด้านการเกษตร, นักวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา, ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไป จำนวน 19 รูป/คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาเพื่อที่จะหาข้อมูลเกี่ยวกับ หลักการทางศาสนาและปรัชญาเพื่อส่งเสริมเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี ประกอบไปด้วยปัญหาทางด้าน 1.ปัญหาทางดานแหลงน้ำ 2. ปัญหาทางดานที่ดินทำกิน 3.ปัญหาทางดานการผลิต 4.ปัญหาทางดานแหลงเงินทุน และ5. ปัญหาทางดานกลไกทางการตลาด 2. หลักพุทธปรัชญาที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี ประกอบไปด้วย 1) หลักสัมมาทิฏฐิ 2) หลักสัมมาอาชีวะ 3) หลักทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์ 4) หลักสันโดษ และ 5) หลักวัฒนมุข 3. การทำเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี ควรมีรูปแบบเกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี ควรเป็นเกษตรที่ดำเนินชีวิตไปตามครรลองครองธรรมแห่งพระพุทธศาสนา มีการผสมผสาน ระหว่างคำสอนในทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ให้เข้ากับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตนเอง และประเทศชาติ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรักษา อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่แนบแน่นไปกับวิถีเกษตรกรรม เพื่อความยั่งยืนสืบไป 4. องค์ความรู้ใหม่ เรื่อง “เกษตรวิถีตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี” ในครั้งนี้ได้แก่ “ DMS Model” D= Dhamma คือ ธรรมะที่นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในการทำเกษตร เรื่อง เกษตรวิถีตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาทในจังหวัดสระบุรี ผู้วิจัยได้นำหลักธรรม เพื่อใช้แก้ปัญหาดังกล่าวประกอบไปด้วย 1) หลักสัมมาทิฏฐิ 2) หลักสัมมาอาชีวะ 3) หลักทิฏฐัมมิกัตถะประโยชน์  4) หลักสันโดษ  5) หลักวัฒนมุข M= Merge หมายถึง แนวทางการปฏิบัติในการเอาหลักธรรมะมาผสมผสาน กลมกลืน เพื่อแก้ปัญหาทางด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเกษตรกร S= Success หมายถึง การประสบผลสำเร็จ หรือบรรลุเป้าหมายสูงสุดตามที่เกษตรกรได้คาดหวัง หรือตั้งเป้าเอาไว้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

Abstract

The research titled “Theravada Buddhist Philosophy-Based Agriculture in Saraburi Province” aimed to achieve the following objectives: 1) To study the situational problems faced by farmers in Saraburi Province. 2) To explore the relevant religious principles and philosophy. 3) To integrate Buddhist philosophical approaches into agricultural practices in Saraburi Province. 4) To present a new model of integrating religious and philosophical principles for agriculture in Saraburi Province.

This qualitative study collected data from the Tipitaka, Commentaries, related documents, and in-depth interviews with 19 experts in agriculture, religion, philosophy, community leadership, and the general public. The data were analyzed and presented concerning agriculture in Saraburi Province.

The study results indicated the following: 1. Problems of Farmers in Saraburi Province, the problems consist of 1) water management, 2) land issues, 3) production processes, 4) funding sources, 5) marketing challenges. 2. philosophical framework: Philosophy involves studying the world and life to find solutions to eternal truths through logical methods, evolving with time and context for human benefit. The educational aspects include: 1) Right view, 2) Right livelihood, 3) Virtues conducive to benefit, 4) Solitude, 5) Gateway to progress 3. Farming According to Theravada Buddhist Philosophy in Saraburi Province: Agriculture should align with Theravada Buddhist principles, incorporating Buddhist teachings to adapt to farmers' lifestyles in the digital era for maximum benefit to individuals and the nation. This approach aims to preserve cultural traditions closely linked to sustainable agricultural methods. 4. New Model - “DMS Model” The new knowledge derived from the study is encapsulated in the “DMS Model” D: Dhamma – Applying Buddhist teachings to solve farming problems, such as 1) Right view, 2) Right livelihood, 3) Virtues conducive to benefit 4) Solitude 5) Gateway to progress. M: Merge – Mixing and matching Dharma principles and guidelines for harmonious practice. S: Success – Achieving the ultimate goals set by the farmers. This study highlights the integration of Theravada Buddhist philosophy into agricultural practices, providing a framework for sustainable and culturally attuned farming in Saraburi Province.

Keywords: Theravada Buddhist Philosophy, Saraburi Province

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-23