กลยุทธ์การสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ผู้แต่ง

  • ราชวงศ์ นวลอินทร์ ฺีืBunditpatanasilapa institute

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารองค์กร, สื่อโซเชียลมีเดีย, การตัดสินใจเข้าศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลยุทธ์การสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารองค์กร คณาจารย์ผู้รับผิดชอบการสื่อสารองค์กรของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ผู้บริหารวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี กลุ่มละ 5 คน และนักเรียนนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปีการศึกษา 2566 จำนวน 320 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลยุทธ์การสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านผู้ส่งสาร กลยุทธ์ด้านเนื้อหาของสาร กลยุทธ์การกำหนดช่องทางในการสื่อสาร และกลยุทธ์ผู้รับสาร
  2. อิทธิพลของสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ด้านผู้ส่งสาร (X1) กลยุทธ์ด้านเนื้อหาของสาร (X2) กลยุทธ์การกำหนดช่องทางในการสื่อสาร (X3) และกลยุทธ์ผู้รับสาร (X4) โดยสามารถเขียนสมการในรูปความสัมพันธ์แบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

 

                   Y’ = 0.184 + 0.620X1 + 0.182X2   + 0.355X3 – 0.190X4

                   Z’ = 0.677X1 + 0.186X2   + 0.371X3 – 0.218X4

  1. แนวทางการบริหารจัดการกลยุทธ์การสื่อสารองค์กรแบบบูรณาการผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประกอบด้วย การจัดเก็บข้อมูลและผลงานผู้สอน ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน อย่างเป็นระบบ การพัฒนาสื่อโซเชียลมีเดียให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย การจัดเก็บข้อมูลผู้เรียนและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง และการติดตามผลการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29