การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5
Management of school curriculum by school administrators Under the jurisdiction of the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office, Area 5
คำสำคัญ:
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, หลักสูตรสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาระดับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาและการเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 335 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ และระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา รองลงมาคือ ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ด้านการ
จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร
- ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
- แนวทางในการส่งเสริมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 2) ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร 4) ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร 5) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล 6) ด้านการสรุปผลการดําเนินงานของสถานศึกษา และ7) ด้านการปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร