การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์

A STUDY OF MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ABILITY ON THE PROBLEM OF LINEAR EQUATION SYSTEMS IN TWO VARIABLES OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS BY USING MATHEMATICAL MODELING PROCESS

ผู้แต่ง

  • นภาพร เบี้ยกระโทก สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ขนิษฐา ชมภูวิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นิภาดา จรัสเอี่ยม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

     

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนชุมชนบ้านนารากอรพิมพ์ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 13 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน แผนละ 1 คาบ คาบเรียนละ 50 นาที และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นแบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test) จำนวน 8 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      The objectives of this research were to 1) compare the mathematical problem solving ability on the problem of linear equation systems in two variables of mathayomsuksa 3 students between before and after learning process by using mathematical modeling process 2) the mathematical problem solving ability on the problem of linear equation systems in two variables of mathayomsuksa 3 students by using mathematical modeling process with the threshold at 60% of total scores.

            The sample of this research was the matthayomsuksa 3 students who currently studying in the 2nd semester of the 2023 academic year at Chumchonbannarakorapim School, Orapim Sub-District, Khon Buri District, Nakhon Ratchasima, under the supervision of Nakhon Ratchasima

Primary Educational Service Area Office 3. The purposive sampling approach was used to obtain a class which consist of 13 students. The research instruments were 1) a mathematics lesson plans of the problem of linear equation systems in two variables based on using mathematical modeling process of mathayomsuksa 3 students. It consists of 8 lesson plans, each plan designed for a period (50 minutes per period),  and 2) a summative test of  mathematical problem solving ability which consisting of 8 essay items. The statistics to analyze data were arithmetic mean, standard deviation, percentage, paired t-test and one-sample t-test.

The research found that:

            1) The mathematical problem solving ability of student after learning process by using

mathematical modeling process was higher than before learning process with the statistically

significance at the 0.05 level.

            2) The mathematical problem solving ability of student after learning process by using

mathematical modeling process was higher than the threshold at 60% of total scores with the statistically significance at the 0.05 level.

Keywords : Problem solving, Linear equation systems in two variables, Mathematical problem solving, Mathematical modeling process.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27