การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์
A STUDY OF MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING ABILITY ON TOPIC PROBLEMS ADDITION, SUBTRACTION, MULTIPLICATION AND DIVISION DECIMALS OF SIXTH GRADE STUDENTS BY USING A LEARNING MANAGEMENT ON MATHEMATIZING PROCESS
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวังก้านเหลืองดรุณกิจ ตำบลบ้านค่าย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 13 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการศึกษาพบว่า
- ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to compare 1) mathematical problem solving ability on topic problems addition, subtraction, multiplication, and division decimals of sixth grade students between before and after using a learning management on mathematizing process 2) mathematical problem solving ability on topic problems addition, subtraction, multiplication, and division decimals of sixth grade students base on 60 percent of the assigned criteria after using a learning management on mathematizing process
The sample was 13 students of sixth grade in the second semester of academic year 2023 of Wangkanluangdarunkit School, Chaiyaphum province, Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1, which selected randomly through purposive sampling technique. The instrument used in this research include: 8 lesson plans by using a learning management on mathematizing process. Each plan used an hour per period. And the instruments used to collect data include: mathematics problem solving ability test that 8 items of subjective test. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test statistics.
The results of the study revealed that:
- Mathematical problem solving ability on topic problems addition, subtraction, multiplication, and division decimals of sixth grade students after using a learning management on mathematizing process was higher than before at the .05 level of statistical significance.
- Mathematical problem solving ability on topic problems addition, subtraction, multiplication, and division decimals of sixth grade students after using a learning management on mathematizing process was higher than 60 percent of the assigned criteria at the .05 level of statistical significance.
Keywords : Mathematical problem solving, Problems addition, subtraction, multiplication, and division decimals, Learning management on mathematizing process