แนวทางการพัฒนาการใช้นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการสู่การปฏิบัติ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์
Guidelines for Development Policy implementation and focus of the Ministry of Education Towards the practice of educational institution under the Buriram Primary Educational Service Area Office 3 and the Buriram Secondary Educational Service Area Office
คำสำคัญ:
นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ, การนำนโยบายสู่การปฏิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการนำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ 2 ) เพื่อเปรียบเทียบการนำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่การปฏิบัติ และ 3 ) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการไปสู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 124 โรงเรียน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ 38 จำนวนโรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 162 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการหรือครู ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ .937 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ การทดสอบค่าที (t-test) และแบบสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การใช้นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ รองลงมา คือ ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ตามลำดับ
- 2. การเปรียบเทียบการใช้นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ จำแนกตามสังกัดของสถานโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
- แนวทางพัฒนาการใช้นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ โดยการ
สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิสรุปแต่ละด้าน คือ การการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การพัฒนาการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การพัฒนาธนาคารหน่วยกิต การพัฒนาการจักการเรียนรู้ส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาการแก้ปัญหาหนี้สินครูและปลูกฝัง
การออมการพัฒนาการใช่นวัตรกรรมและโทคโนโลยีในหน่วยงาน และการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษา