ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ

THE RELATIONSHIP BETWEEN PARTICIPATIVE ADMINISTRATION AND EFFECTIVENESS OF SCHOOLS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE CHAIYAPHUM

ผู้แต่ง

  • วรวลัญช์ พัววิสิทธิ์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สรรฤดี ดีปู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 320 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน การตัดสินใจร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล รองลงมา ได้แก่ การไว้วางใจกัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์

2) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู รองลงมา ได้แก่ ด้านการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก และด้านการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .835 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมรายด้านกับประสิทธิผลของโรงเรียนโดยภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่ง                   การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน และการตัดสินใจร่วมกัน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง               ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .751 รองลงมา คือ การไว้วางใจกัน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .738 ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .732 ส่วนด้านที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ โดยภาพรวมในระดับค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .730

Abstract

The purposes of this research were 1) To study Participative Administration of schools Under The Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum 2) To study Effectiveness of schools Under The Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum 3) To study The Relationship between Participative Administration and Effectiveness of school Under The Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum. The sample was group of 320 School administrators and teachers Under The Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum in the academic year 2565, the research instrument was a questionair. The statistics used for analyzing were percentage, mean, standard deviation, Pearsons product moment correlation coefficient, frequency distribution.

The results of the study were as follows :

1) The opinion of educational administrators and teacher of schools about the participative administration of schools under the secondary educational service area office Chaiyaphum was at the high level overall. When considering each side, it was found that every side was also high level which could order from highest to lowest at goal setting in organization, shared decision making, participatory evaluation, trust and benefits respectively.

2) The opinion of educational administrators and teacher of schools about Effectiveness of schools Under under the secondary educational service area office Chaiyaphum was at the high level overall. When considering each side, it was found that every side was also high level which could order from highest to lowest at the satisfaction of teachers, producing students with high academic achievement, developing students to have a positive attitude, solving problems within educational institutions and ability to adapt and develop to the environment respectively.

3) The Relationship between participative administration and Effectiveness of schools Under The Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum was a positive correlation with statistical significance at the level of .01 and the correlation coefficient was at .835. When considering the relationship between participative administration on each side and the effectiveness of schools found that there was related statistical significance at the level of .01 which could order the correlation coefficient from highest to lowest at setting goals and objectives and decision – making were related to the effectiveness of schools and there was a relatively high positive correlation, the correlation coefficient was at .751. Trust was related to the effectiveness of schools and there was a relatively high positive correlation overall, the correlation coefficient was at .738. Participatory evaluation was related to the effectiveness of schools and there was a relatively high positive correlation overall, the correlation coefficient was at .732. Participation in benefits was related to the effectiveness of schools and there was a relatively high positive correlation overall, the correlation coefficient was at .730 respectively.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27