ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

Necessary needs and guidelines for academic administration to raise the quality of education Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3

ผู้แต่ง

  • ภัทราธร บูรณวิชิต หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • สุเทพ ตระหง่าน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารงานวิชาการ, คุณภาพการศึกษา, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 จำนวน 174 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดลำดับความสำคัญของต้องการจำเป็น (PNI_modified) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนงานวิชาการ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 4) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ5) ด้านการวัดประเมินผลและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

 

Abstract

The purpose of this research is to study the needs and guidelines for academic administration in order to raise the quality of education. Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3, the researcher divided the research into 2 steps: Step 1: Study of necessary needs in academic administration in order to raise the quality of education. The tool used in the research was a questionnaire. The sample group included educational institution administrators and academic head teachers. Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3, there were 174 people. Data were analyzed using the mean, standard deviation, and prioritization of needs. (PNI_modified) Step 2: Study of academic administration guidelines to improve educational quality. Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3, the research instrument was an interview form. The informants included 5 experts. Data were analyzed by content analysis. Research results found that.

The research results found that

  1. Necessary needs in academic administration to raise the quality of education Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3, overall and each aspect is at the highest level.
  2. Guidelines for academic administration to raise the quality of education Under the jurisdiction of the Loei Primary Educational Service Area Office, Area 3, it consists of 5 areas: 1) curriculum development and academic planning, 2) learning management to develop learner quality, 3) media development, innovation, and technology to develop quality. learners 4) promoting and supporting educational supervision to develop learner quality and 5) measuring, evaluating and developing educational quality

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-23