การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Management of the student care system according to the PDCA system of the school expanding educational opportunities under the jurisdiction of Khon Kaen Primary Educational Service Area Office, Zone 5

ผู้แต่ง

  • อิสระ โป้คอนสาร หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • คณิต สุขรัตน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA และ 2) นำเสนอความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยการศึกษาเอกสารและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง และขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.68 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCAของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 84 รายการปฏิบัติ คือ องค์ประกอบที่ 1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มี 18 รายการ ได้แก่ การวางแผน จำนวน 5 รายการ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 5 รายการ  การติดตามประเมินผล จำนวน 2 รายการ และการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 6 รายการ องค์ประกอบที่ 2 การคัดกรองนักเรียน มี 14 รายการ ได้แก่ การวางแผน จำนวน 3 รายการ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 4 รายการ  การติดตามประเมินผล จำนวน 3 รายการ และการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 4 รายการ องค์ประกอบที่ 3 การส่งเสริมนักเรียน มี 22 รายการ ได้แก่ การวางแผน จำนวน 4 รายการ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 5 รายการ การติดตามประเมินผล จำนวน 7 รายการ และการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 6 รายการ องค์ประกอบที่ 4 การป้องกันและแก้ไขปัญหา มี 14 รายการ ได้แก่ การวางแผน จำนวน 4 รายการ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 4 รายการ การติดตามประเมินผล จำนวน 3 รายการ และการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 3 รายการ องค์ประกอบที่ 5 การส่งต่อ มี 15 รายการ  ได้แก่ การวางแผน จำนวน 3 รายการ การดำเนินงานตามแผน จำนวน 4 รายการ การติดตามประเมินผล  จำนวน 4 รายการ และการปรับปรุงแก้ไข จำนวน 4 รายการ
  2. 2. แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ทั้ง 5 องค์ประกอบ 84 รายการปฏิบัติ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง อยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 3.50

 

คำสำคัญ: การบริหารจัดการ, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนขยายโอกาส

 

Abstract

The purposes of this research are to 1) study factors affecting the management of student care and support systems according to the PDCA quality cycle and 2) present appropriateness. and the feasibility of managing the student care and support system according to the PDCA quality cycle. The research method has 2 steps: Step 1: Create the management of the student care and support system according to the PDCA quality cycle by studying documents and checking the accuracy. Content-wise by experts in the management of student support systems, a total of 5 people, obtained by means of purposive sample selection. The research instrument was a content validity questionnaire. Data were analyzed by analysis of the consistency index. and step 2: evaluate suitability and the possibility of managing the student care and support system according to the PDCA quality cycle. The population is educational institution administrators. and teachers who are responsible for the student care and support system of the school expanding educational opportunities Under the jurisdiction of the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 5, there were 142 people. The research instrument was a questionnaire with a confidence value of 0.68. Statistics used in data analysis included the mean and standard deviation.

The research results found that

  1. Management of the student care and support system according to the quality cycle The school's PDCA expands educational opportunities. Under the jurisdiction of the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 5, it was created consisting of 5 elements, 84 practice items, namely Component 1, knowing students individually, with 18 items, including planning, 5 items, operating according to the plan, 5 items, monitoring and evaluation. Results, 2 items, and improvements, 6 items. Component 2: Student screening, has 14 items, including planning, 3 items, implementation of plans, 4 items, monitoring and evaluation, 3 items, and improvement, 4 items. Components Third, student promotion has 22 items, including planning, 4 items, operating according to plan, 5 items, monitoring and evaluating, 7 items, and improvement, 6 items. Component 4, prevention and problem solving, has 14 items, including planning. Total of 4 items, Operation according to plan, total of 4 items, Monitoring and evaluation, total of 3 items, and improvement, total of 3 items. Component 5, Forwarding, has 15 items, including planning, total of 3 items, Operation according to plan, total of 4 items, Follow-up. Evaluation of 4 items and improvement of 4 items.
  2. Guidelines for managing the student care and support system according to the PDCA quality cycle, all 5 elements, 84 practice items. It is appropriate and feasible in actual practice. at a high level and higher than the specified threshold of 3.50

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-23