แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
The Development Guidelines for Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 338 คน จำแนกออกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 23 คน ครูผู้สอนจำนวน 315 คน และกลุ่มเป้าหมายในการเก็บข้อมูล จำนวน 5 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา แล้วสรุปบรรยายเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
- 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อนำพาสถานศึกษาผ่านความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการประเมินและวิเคราะห์องค์การเพื่อทำความเข้าใจจุดแข็ง, จุดอ่อน, โอกาส, และอุปสรรค (SWOT analysis) ต่อไปคือการกำหนดทิศทางและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนสำหรับสถานศึกษา, และการระบุประเด็นกลยุทธ์หลักที่จะช่วยบรรลุวิสัยทัศน์นั้น การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติต้องการการจัดสรรทรัพยากร และการมอบหมายงานอย่างมีระบบ และสุดท้ายการประเมินผลงานและการควบคุมกลยุทธ์ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนตามความจำเป็น และรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ การดำเนินการอย่างมีกลยุทธ์ และมีระเบียบวินัยในทุกขั้นตอนนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการนำสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จในยุคที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
The purpose of this research were to 1) study the Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 2) compare the Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 and analyzed based on their position status and 3) study The Development Guidelines for Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2. The sample were school administrators and teachers under buriram primary educational service area office 2 in 2023. There are 338 persons consist of 23 school administrators and 315 teachers. Target groups used for data collection was 5 persons. The instrument used in this research was a questionnaire with a confidence level at 0.91. The statistical values used in the data analysis were frequency value, percentage, mean, standard deviation, t-test, and Interview form for content data analysis and then summarize the lecture in an essay
The results show that
- The performance of the Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level.
- The results of the comparison of the Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 that classified by position status, There is no difference overall.
- The Development Guidelines for Strategic Leadership of School Administrators after COVID 19 under Buriram Primary Educational Service Area Office 2 findings were school administrators must develop strategic leadership to effectively overcome challenges. This process begins with organizational assessment and analysis to understand strengths, Weaknesses, chance and obstacle (SWOT analysis). Next, Definition of direction and clear vision for school and Identifying the main strategic issues is crucial to achieving the envisioned goal. In order to put a strategy into practice, it is necessary to allocate resources and systematic assignment. Finally, Performance evaluation and strategy control allows for making necessary changes to plans and adapting to changing circumstances. Strategic execution and discipline in every process are the key to leading educational institutions towards success in an era of uncertainty.