ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Digital leadership of educational institution administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization.

ผู้แต่ง

  • ยุคนธร สมบัติมี วิทยาลัยนครราชสีมา
  • สุวิจักขณ์ มั่นสารนียธรรม วิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 310 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) เปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยแบบรายคู่โดยใช้วิธีของ Scheffe’s test และการวิเคราะห์เนี้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตัวแปรตำแหน่ง และระดับการศึกษา          โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน แต่การจำแนกตามตัวแปรด้านประสบการณ์ในการทำงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ .05

3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์เทคโนโลยีดิจิทัล  ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านการบริหารงาน

The objectives of this research are 1) to study the digital leadership level of educational institution administrators; Under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization 2) To compare the opinions of school administrators and teachers regarding the digital leadership of school administrators. Under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization 3) To study guidelines for developing digital leadership of educational institution administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. The sample group used in the research included 310 school administrators and teachers under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire with content validity ranging from 0.60-1.00 and reliability. of the questionnaire was 0.903. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test. and F-test comparing pairwise means using Scheffe's test and content analysis (Content Analysis).

            The research results found that

            1) Digital leadership of educational institution administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization of educational institution administrators. And teachers have opinions on the digital leadership of school administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. Overall, it is at a high level.

            2) Results of comparing opinions of educational institution administrators and teachers towards the digital leadership of educational institution administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. Classified by position variable and education level Overall and each aspect is not different. But the classification according to the work experience variable is significantly different at .05.

            3) Guidelines for developing digital leadership of educational institution administrators under the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization. There are 4 aspects: having a vision for digital technology.  Supporting teaching and learning using digital technology Ethical aspects in the use of digital technology and supporting the use of digital technology in administration

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29