การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

The study of the results of learning activities about volleyball Health Education and Physical Education Learning Subject Group Grade 6 by cooperative learning with TGT technique

ผู้แต่ง

  • ธีรกร สาคร วิทยาลัยนครราชสีมา
  • ภัทรฤทัย ลุนสำโรง วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT, ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะ/ความสามารถการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองคู ตำบลตระเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TGT จำนวน 8 แผนมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก  ( = 4.12 , S.D. = 0.08) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องกีฬาวอลเลย์บอลโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT มี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบด้านความรู้ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ฉบับที่ 2 แบบวัดทักษะ/ความสามารถเรื่องกีฬาวอลเลย์บอลมี 5 ทักษะ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบ Rubric มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( ) อยู่ระหว่าง 0.32 ถึง 0.88 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 ค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะ/ความสามารถการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลมีค่าเท่ากับ 0.6200 คิดเป็นร้อยละ 62.00 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ( ) อยู่ระหว่าง 0.32 ถึง 0.88 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า

          1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT อยู่ในเกณฑ์85.28/83.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 

           2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องกีฬาวอลเลย์บอลโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT มี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบด้านความรู้ แบบปรนัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 ฉบับที่ 2 แบบวัดทักษะ/ความสามารถเรื่องกีฬาวอลเลย์บอลมี 5 ทักษะ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79  ค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะ/ความสามารถ การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT มีค่าเท่ากับ 0.6200

คิดเป็นร้อยละ 62.00

           3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 อยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25