การบริหารจัดการอาชีวศึกษาเพื่อสร้างองค์กรนวัตกรรม ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
Vocational education management to create innovative organizations in institutions Southern Vocational Education 1
คำสำคัญ:
การบริหาร, อาชีวศึกษา, องค์กรนวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 จำนวน 162 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 86 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านโครงสร้างองค์กร รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในนวัตกรรม และด้านทีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยภายนอก
- การเปรียบเทียบสภาพการเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันและขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05