ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

Academic leadership of educational institution administrators Surathampitak SchoolNakhon Ratchasima Secondary Educational Service Area Office

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ โปยขุนทด วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารและครูในโรงเรียนโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 108 คน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง  0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95  สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที   (t-test)  

            ผลวิจัยพบว่า

           1.ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนกำหนดภารกิจ รองลงมาคือ ด้านการจัดหลักสูตรและการสอน ด้านการนิเทศการสอน  ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผลและตรวจสอบความก้าวหน้า

  1. 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน พบว่า จำแนกตามระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับสุงกว่าปริญญาตรี และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า  ประสบการณ์ในการทำงาน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 10 ปี  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-25