การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของผู้บริหารสถานศึกษาในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5

EDUCATIONAI INSTITUTION ADMINISTRATION ACCORDING TO THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY BY EDUCATIONAL INSTITUTION ADMINISTRATORS IN THEPHARAK EDUCATIONAL QUALITY AND STANDARDS DEVELOPMENT CENTER NAKHON RATCHASIMA PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 5

ผู้แต่ง

  • มาณะ พาขุนทด วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม วิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 132 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน และได้โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .980 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัฒนธรรม รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาพอเพียง และผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของแต่ละระดับชั้นปีการศึกษา ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม
  2. 2. ผลเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเทพารักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การบริหารสถานศึกษา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31