ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ยุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา

Instructional Leadership of School Administrators in Disruption Age According to Private School Personnel’s Opinions Under the Provincial Education Office of Nakhon Ratchasima

ผู้แต่ง

  • วิทยา เทพกอม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กฤษฎา วัฒนศักดิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ทำงาน 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-Test) และค่าแอฟ (F-Test) 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันตามความคิดเห็นของบุคลากรโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
  3. ผู้บริหารสถานศึกษาควรศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และเปิดรับแนวความคิดใหม่ๆ เชิงวิชาการอยู่เสมอ ยึดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ พันธกิจ ศึกษาบริบทของโรงเรียน และความต้องการของชุมชน เป็นกรอบในการดำเนินงานวิชาการร่วมกับครู นำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ มาออกแบบหลักสูตรและการสอนให้เหมาะสมกับนักเรียน สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อสร้างโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งวางแผนการนิเทศภายในโรงเรียนร่วมกับครู โดยให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31