แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วม ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

The Guideline Development for Participative Administration in Schools Under Buriram Primary Educational Service Area Office 1

ผู้แต่ง

  • อิสระ ออมอด วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิภาส ทองสุทธิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหาร, การมีส่วนร่วม, แนวทางการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2) เปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และขนาดสถานศึกษา             3) แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูจำนวน 342 คน โดยเลือกแบบเจาะจงตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) สำรวจแนวทางเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า

  1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง จำแนกตามระดับการศึกษา และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. 3. แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 พบว่า ผู้บริหารควรให้ครูมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการของทางสถานศึกษา ให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานอย่างเต็มศักยภาพ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และครู ร่วมกันมีโดยการกำกับติดตามและสรุปรายงานผลโครงการตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31