การขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสื่อสารในการเผาศพ 2) เพื่อขับเคลื่อนระบบการจัดการเผาศพ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และการสร้างเครือข่ายการเผาศพใช้ระเบียบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการวิจัย กระบวนการดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนาชุดการสื่อสารในการเผาศพ การสื่อสารควรเป็นไปแบบสองทางคือ สามารถตอบโต้หรือซักถามได้ตลอดเวลาเกี่ยวกับระบบหรือขั้นตอนการใช้งานเตาเผาศพ ซึ่งช่วงแรกในการใช้งานอาจต้องคอยตอบข้อซักถามหรือแก้ปัญหาค่อนข้างมาก ซึ่งหากได้ทดลองปฏิบัติจริงแล้วก็จะทำให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น ทีมงานที่จัดทำโครงการ ควรมีการติดตามคอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานฌาปนกิจด้วยการพัฒนาชุดการสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจและต้องการสื่อถึงองค์ประกอบในการเผาศพ มีลักษณะดังนี้ คือ การพัฒนาชุดการสื่อสารสำหรับประชาชนทั่วไป ควรมีลักษณะที่เข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบ ที่ชัดเจน มีสีสันที่น่าอ่าน อาจจะเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ ทางเว็บไซต์ออนไลน์ แอปพลิเคชัน หรืออยู่ในรูปแบบคลิปวิดีโอที่มีขั้นตอนในการปฏิบัติที่ชัดเจน อธิบายถึงภัยเงียบจากสารพิษส่งผลต่อสุขภาพชุมชน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
- การที่จะขับเคลื่อนระบบการจัดการเผาศพอย่างมีประสิทธิภาพควรมีการจัดการในลักษณะดังต่อไปนี้ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและให้ความรู้แก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการฌาปนกิจศพเกี่ยวกับการใช้เตาเผาศพเพื่อลดมลพิษที่เกิดขึ้น ขอความร่วมมือและประสานงานไปยังทุกภาคส่วน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงปัญหามลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นจากการเผาศพที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ชีวิตและสิ่งแวดล้อม นำเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อที่จะเก็บข้อมูลและประชาสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารของแต่ละฝ่ายงาน มีการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีการวัดและประเมินผลเพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
- ปัญหาการสร้างเครือข่ายการเผาศพไร้มลพิษ ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างและรูปแบบการทำงานเครือข่ายการเผาศพไร้มลพิษ 2) ด้านความเชื่อวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น 3) ด้านสังคม โครงสร้างเชิงพื้นที่ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม 5) งบประมาณการพัฒนารูปแบบการเผาศพ และ 6) หน่วยงานภาครัฐ
การขับเคลื่อนพุทธนวัตกรรมสู่ชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับการเผาศพ หรือในในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาหลายๆ อย่างของวัด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การเผาศพในเขตกรุงเทพมหานคร และในชุมชนต่างจังหวัด ล้วนก็มีการเผาศพตามความเชื่อ หรือเป็นหนึ่งในพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และการเผาศพแต่ละครั้งนั้น ใช้ทรัพยากรธรรม สิ่งประดับชนิดต่างๆ รวมทั้งการจัดดอกไม้สด พวงหรีด น้ำมันเชื้อเพลง หรืออาจจะถ่าน และฟืน สิ่งประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นสารตั้งต้นการเกิดมลพิษ มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น มักเกิดขึ้นเนื่องจากการเผาไหมที่ไม่สมบูรณ์ หรืออุณหภูมิไม่สูงพอ ทำให้เกิดมลพิษ เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอน มอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์รวมทั้งเขม่า และขี้เถ้าจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง และกลิ่นจากการสลายตัวของสารอินทรีย์ในศพ ซึ่งก๋อให็เกิดความเดือดร้อนรำคาญและมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของประชาชนด้วย จะเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากติดไปตามเสื้อผ้า อาหาร ภาชนะเครื่องใช้ที่อยู่ในวัด รวมถึงที่ถูกลมพัดฟุ้งกระจายไปตกในพื้นที่ห่างไกลออกไป จึงกลายเป็นเรื่องยากที่ประชาชนที่จะไปร่วมงาน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากสารพิษดังกล่าวได้ เนื่องจากอาจจะมีที่อยู่อาศัยใกล้กับบริเวณวัดหรือไปร่วมงานศพ เรียกว่าเป็นวิถีชีวิตของคนไทย