ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียน ในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระมหาเอกพันธ์ วรธมฺมญฺญู (มะเดื่อ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ระบบการสอนสังคมศึกษา, หลักสัปปุริสธรรม 7, การเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 2) เพื่อประเมินความต้องการเกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 3) เพื่อพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 4) เพื่อประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26  5) เพื่อนำเสนอระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์ โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำผล การสังเคราะห์ที่ได้พัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วิเคราะหขอมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี 6’C Technic และใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation)  เพื่อตรวจสอบ และยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และดำเนินการจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 รูป/คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ให้สมบูรณ์ จากนั้นนำเสนอระบบที่ได้ไปประเมินยืนยันระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ด้วยการประเมินเฉพาะด้านประเมินความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) และการหาฉันทามติ (Consensus) ว่ามีความสมบูรณ์ในเนื้อหาสาระ คุณภาพ คุณลักษณะ คุณค่า ความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Connoisseurship) จำนวน 5 ท่าน และสรุปข้อค้นพบ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่

ผลการวิจัยมีดังนี้

1) คุณลักษณะองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์ พบว่า บริบท (Context) คือ ระบบการสอนสังคมศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 4 ประการ ประกอบด้วย (1) ระบบการพัฒนาด้านหลักสูตร (2) ระบบการพัฒนาด้านเนื้อหา (3) ระบบการพัฒนาด้านกิจกรรม (4) ระบบการพัฒนาด้านการวัดผลประเมินผล ประกอบด้วย  ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ การบูรณาการการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 มี 7 อย่าง ประกอบด้วย (1) การสอนให้นักเรียนจักเหตุ  (2) การสอนให้นักเรียนจักจุดมุ่งหมายและเหตุผล (3) การสอนให้นักเรียนจักตน (4) การสอนให้นักเรียนจักประมาณ (5) การสอนให้นักเรียนจักกาล (6) การสอนให้นักเรียนจักชุมชน (7) การสอนให้นักเรียนจักบุคคล กระบวนการ (Process) คือ ทักษะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม มี 5 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะด้านการเรียน (2) ทักษะนวัตกรรม (3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (4) ทักษะชีวิต (5) ทักษะอาชีพ และการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมในพุทธศตวรรษที่ 26 มี 4 ประการ ประกอบด้วย (1) ด้านวิชาการ (2) ด้านผู้เรียน (3) ด้านการบริหาร (4) ด้านการเรียนการสอน

2) ระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ผลลัพธ์(Output) คือ แบบจำลองระบบพระปริยัติธรรมตามนวลักษณ์ 5 ประการ EKKAPAN MODEL ดังนี้ (1) มีวินัย (2) ใฝ่เรียนรู้ (3) ชูคุณธรรม (4) นำวิชาการ และ(5) การจัดการเป็นเลิศ

3) ผลประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบการสอนสังคมศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ (Rating Scale) 5 ระดับ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้าน เท่ากับ 5.00

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-22