ตัวชี้วัดความสุขของพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในสังคมไทย
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัดความสุข, หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน, พุทธศาสนิกชนชาวไทยบทคัดย่อ
ตัวชี้วัดความสุขอันเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะสัมผัสเห็นได้ด้วยตนเองเห็นได้จากเกิดความปีติเบาสบายภายในจิตใจอย่างสม่ำเสมอเนื่องๆ ตามที่นักวิชาการในทุกๆ ศาสนาได้อธิบายไว้ว่าต่างก็เน้นไปที่ความสุขทั้งทางกายและทางใจจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ในพุทธศาสนาจะเน้นเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนำไปสู่ความสุขนิรันดร์ โดยยึดรูปแบบปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาพัฒนาชีวิตด้านศีล สมาธิ และปัญญา จะสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขเย็นใจเกิดประโยชน์คุณค่าอันลึกซึ้งในจิตใจได้มีจริยธรรมคุณธรรมเพิ่มสูงขึ้นไปตามกฎแห่งการดึงดูดนำไปสู่จุดหมายขั้นสูงสุดคือ ความสุขแท้จริง ด้วยการฝึกจิตดังพุทธภาษิตว่า “จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ” จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ เมื่อบุคคลใดปฏิบัติตามหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถึงที่สุดแล้วสามารถบรรลุถึงโลกุตตรสุขคือ มรรค ผล นิพพาน ดับทุกข์สิ้นเชิง โดยไม่ต้องถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามหลอกหลอนตนอีกต่อไป กล่าวได้ว่า พุทธศาสนิกชนในสังคมไทยฝึกฝนตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมพัฒนาชีวิตที่มีคุณภาพมีจิตใจให้ตื่นรู้นำไปสู่ความสุข คุณธรรมและปัญญา จากการสะสมสร้างบุญกุศลบารมีกรรมดีเหล่านี้จะติดตัวตามเราไปข้ามภพข้ามชาติได้