พระพุทธศาสนากับการเมือง
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, การเมือง, การปกครอง, หลักธรรมบทคัดย่อ
จากการศึกษาบททความนี้ “พระพุทธศาสนากับการเมือง” พบว่า การเมืองการปกครองการดูแลบริหารรัฐ ซึ่งมี 3 บริบททางการเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ในพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องอธิปไตยไว้ 3 ประการ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเป็นผู้ทรงธรรม มีความยุติธรรม มีความรอบรู้ และ มีความเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ที่อยู่ภายใต้ของการปกครองอย่างถูกต้องและเป็นธรรม 2 ประการ คือ หลักกฎหมายและหลัก ศีลธรรม ผู้นำการปกครองจะต้องยึดถือเป็นข้อปฏิบัติ ให้เหมาะสมตามธรรม คือ หลักอปริหานิยธรรม 7 หลักอคติ 4 หลักพรหมวิหาร 4 หลักสัปปุริสธรรม 7 หลักจริต 6 ที่ชอบธรรมในการปกครอง ที่เรียกว่า ประชาธิปไตย ที่มีอำนาจ สิทธิ์ 3 แบบ คือ แบบราชาธิปไตย แบบโลกาธิปไตยและแบบธรรมาธิปไตย ที่มีสิทธิ ที่จะกระทำการใดๆ ที่ไม่ขัดต่อ สิทธิของผู้อื่นหรือขัดต่อศีลธรรม มีเสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง นอกจากนี้ ยังมีความเสมอภาคตามกฏของ”ไตรลักษณ์“ และทางสังคม เช่น ชนชั้น เพศ และ มีภราดรภาพ คือ ความ สมัครสมานสามัคคีในหมู่คณะ แบบสามัคคีธรรมมาใช้ในสังคมไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก ในสังคมไทย ปัจจุบันอยู่ภายใต้ “การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข” โดยยึดเสียงของ ประชาชนเป็นเกณฑ์ในการประยุกต์วิธีการบริหารรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ ที่ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไทยไว้ ในมาตรา 66-70 สำหรับคุณธรรมของชาวไทย มาประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างพอเหมาะพอสม ในการ ปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งการนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารบ้านเมือง และส่งเสริมให้ ประชาชนอยู่ในศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องมือในการเมืองการปกครองของไทยในสมัยปัจจุบัน ที่เป็นผู้ สนองงานของพระมหากษัตริย์ ในส่วนที่ผู้ดูแลบริหารบ้านเมือง ที่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการ บริหารบ้านเมืองของประเทศ เป็นต้น