ไตรสิกขา : รูปแบบการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระมหาจิตรภาณุ อาจารคุตฺโต -

คำสำคัญ:

รสิกขา รูปแบบ การพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ ตามหลักพุทธบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักพุทธบริหารการศึกษา กับเปลี่ยนแปลงของโลกที่ก้าวเข้าสู่ยุค “VUCA” นั่นคือ มีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความกำกวม (Ambiguity) เป็นการเปลี่ยนแปลงของโลกรุนแรงมาก ซึ่งได้ส่งผลกระทบทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทำให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นโลกไร้พรมแดน การศึกษาเป็นเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน การที่สังคมไทยในปัจจุบัน เห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับเยาวชนผู้มีอายุตั้งแต่ ๖-๑๗ ปี ให้ได้รับการฝึกฝนเล่าเรียนในระบบโรงเรียน เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีความรู้พื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตตนและดำรงสังคมต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี ดังนั้น “การศึกษา” จึงควรมีบทบาทสำคัญในการนำธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ มาพัฒนาแก่นสาระและกระบวนการที่เชื่อได้ว่าจะเป็นครรลองสู่อิสรภาพทางปัญญาซึ่งเป็นคุณสมบัติแห่งการศึกษาที่สมบูรณ์ของมนุษย์ จึงเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นๆ กำลังดำเนินไปตามครรลองของ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นการศึกษาที่สมบูรณ์ในที่สุด[1] ดังนั้นผู้เขียนบทความจึงขอเสนอหลักพุทธบริหารการศึกษา เป็นกรอบแห่งการแสวงหาความรู้ว่า การทำงานนั้นจะให้สำเร็จตามความมุ่งหมาย หรือแนวทางการดำเนินชีวิตสำหรับคนที่ต้องการพัฒนาตนเองนั้น ควรมีหลักการอย่างไรบ้าง ซึ่งก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะนำไปประยุกต์ใช้กับอะไรบ้างสำหรับชีวิตมนุษย์

 

[1] พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต), ปรัชญาการศึกษาของไทย ภาคพุทธ : แกนนำการศึกษา (พิมพ์เผยแพรเป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์),พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม ๒๕๕๖.หน้า ๖.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-21