เปรียบเทียบแนวคิดสุญตาของนาคารชุนกับพุทธทาสภิกขุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้เป็นการนําเสนอการเปรียบเทียบแนวคิดเกี่ยวกับสุญญตา ของ นาคารชุนแห่งสํานักมาธยมิกะ นิกายมหายาน และ พุทธทาสภิกขุ นักปราชญ์พระพุทธ ศาสนาแห่งสยาม จากการค้นคว้าพบว่า สุญญตาของนาคารชุน เป็นสภาพการรับรู้ ความ มีก็ไม่ใช่ความไม่มีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความมีก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความไม่มีก็ไม่ใช่ ทั้ง4 สภาวะสุดขั้วนี้มิใช่ สุญญตา สภาพการรับรู้ตรงกลางคือสุญญตา สุญญตาคือสิ่งที่อิงอาศัยกันและกันให้มีเกิดขึ้น เช่น อริยสัจ, ทางสายกลาง ปรตีตยสมุทปาท ทั้งหมดนี้คือ สุญญตา ในทัศนะของนาคารชุน นั้นถือว่า สรรพสิ่งไร้รูปแบบที่แท้จริง สังขตธรรมเป็นดังความฝัน เป็นมายา ควรละทิ้งทั้ง กุศลธรรมและอกุศลธรรม เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์แล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นสารัตถะแท้จริง แม้แต่ ธรรมเป็นเพียงอุปกรณ์ คือ แพข้ามสังสารวัฏเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบสุญญตาของสุญญตา ระหว่างนาคารชุนกับพุทธทาสภิกขุมีเนื้อหาที่เหมือนกันเป็นส่วนมาก แต่มีการเน้นที่แตก ต่างกัน สุญญตา ตามทัศนะของนาคารชุนกับพุทธทาสภิกขุ มีส่วนที่เหมือนกันคือ เรื่อง ขันธ์5 ว่าเป็นความว่าง ว่างจากตัวตน บุคลลและ สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ จุดที่ แตกต่างกันนาคารชุนจะเน้นที่ความว่างของสภาวะที่อิงอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น สิ่งใดอิง อาศัยเหตุปัจจัยนั้นชื่อว่า ความว่าง ตามหลักปฏิจจสมุปบาท ส่วนพุทธทาสภิกขุนั้น ท่านเน้นเอาที่ตัวของจิต โดยที่ความว่างนั้นก็คือการที่จิตว่างจากกิเลส โลภ โทสะ โมหะ ว่าง จากตัวกู ของกู ไม่มีการยึดมั่นในตัวตน เรา เขา