พุทธพลังชราสุข : รูปแบบพุทธบูรณาการเสริมสร้างพฤฒพลัง สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ยุรธร จีนา
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
เทพประวิณ จันทร์แรง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวทางของพระพุทธศาสนา 2) เพื่อนำเสนอ “พุทธพลังชราสุข” รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลังสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา โดยใช้การสืบค้นข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์ประเด็นตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า
1) การเสริมสร้างพฤฒพลังแก่ผู้สูงอายุตามแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับหลักพฤฒพลังขององค์การอนามัยโลก.ได้แก่.การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านสุขภาพ ใช้หลักอายุสสธรรม และหลักไตรลักษณ์..การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านการมีส่วนร่วม ใช้หลักสังคหวัตถุ และหลักสาราณียธรรม การเสริมสร้างพฤฒพลังผู้สูงอายุด้านหลักประกันมั่นคงปลอดภัย ใช้หลักสัปปายะ และหลักเบญจศีลเบญจธรรม
2) “พุทธพลังชราสุข” รูปแบบพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤฒพลังสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้การบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยหลักการสร้างความสุขผู้สูงอายุ 6 สุข ได้แก่ สุขกายสังขาร สุขสำราญจิต สุขมิตรสัมพันธ์ชุมชน สุขสร้างกุศลสาธารณะ สุขสัปปายะเหมาะสม และ สุขอุดมศีลธรรม
พุทธพลังชราสุข จึงเป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ สามารถมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเสริมสร้างพฤฒพลัง ความสุข และพัฒนาศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐาณญา สมภู่ .(2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล และคณะ. (2558). ภาพสุขภาวะของผู้สูงอายุผ่านมุมมองพฤฒพลังในชุมชนจังหวัดนครนายก, วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 22 (2), 48 - 60.

พระครูศรีเมธาภรณ์และคณะ, “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุของพระสงฆ์ในจังหวัดพิจิตร”, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11 (3), 252 - 265.

พระครูอรรถจริยานุวัตร (สุเทพ ศรีทอง). (2563).“วัดเพื่อผู้สูงอายุ : รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในวัดอย่างยั่งยืน”..วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 21 (1), 89 - 102.

พระปลัดวุฒิพงษ์ กิตฺติวณฺโณ พร้อมคณะ. (2561). การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนาในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์, รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุนทรกิตติคุณ. (2559). หลักพุทธธรรมกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 3 (1), 12 - 25.

สมบูรณ์ วัฒนะ. (2561). พุทธปรัชญากับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 3 (2), 13 - 31.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

____________. (2567). สรุปผลที่สำคัญสถิติการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2566. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติแรงงาน.