สัญญาณกลองเดิก: คุณค่าทางจริยธรรมและการดำรงอยู่บนวิถีชุมชนอีสาน

Main Article Content

พรหมพิสิฐ พันธ์จันทร์
พระอำนาจ พุทธอาสน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน 2) เพื่อศึกษาคุณค่าทางจริยธรรมของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน และ 3) เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำรงอยู่ของสัญญาณกลองเดิกในวิถีชุมชนอีสาน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายคือ ชาวตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 36 รูป/คน และผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 250 รูป/คน เลือกกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดแบบแนะนำและแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สัญญาณกลองเดิกมีความสำคัญต่อวิธีชุมชนอีสาน คือ สามารถสร้างองค์ความรู้ต่างๆ สร้างคุณธรรมที่ดีงาม สร้างความภาคภูมิใจ สร้างเสถียรภาพและแบบอย่างที่ดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่ดี 2) สัญญาณกลองเดิกสามารถเสริมสร้างคุณค่าทางจริยธรรมภายใน อันได้แก่ จิตสำนึกที่ดี และคุณค่าทางจริยธรรมภายนอก อันได้แก่ พฤติกรรมหรือลักษณะนิสัยที่ดีและสังคมที่ดีให้กับคนในพื้นที่ชุมชนได้ และ 3) สถานกาณ์การดำรงอยู่ของสัญญาณกลองเดิก อันได้แก่ การตีกลองเดิกของวัดในเขตพื้นที่ตำบลพังขว้างได้ลดลงเล็กน้อย อันเนื่องมาจากสาเหตุหลักที่สำคัญคือ วัดมีพระสงฆ์จำพรรษารูปเดียว โดยอาจจะชราภาพหรือเกิดอาพาธในบางครั้ง ทำให้ไม่สามารถตีกลองเดิกได้

Article Details

How to Cite
พันธ์จันทร์ พ. ., & พุทธอาสน์ พ. . (2024). สัญญาณกลองเดิก: คุณค่าทางจริยธรรมและการดำรงอยู่บนวิถีชุมชนอีสาน. วารสารปรัชญาอาศรม, 6(2), 164–180. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/5222
บท
บทความวิจัย

References

พรหมพิสิฐ พันธ์จันทร์ และคณะ. (2563). การสืบทอดและคุณค่าทางจริยธรรมของชาวอีสานในสัญญาณกลองเพล: กรณีศึกษาตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 10 (1), 55-63.

พระครูศรีธรรมวัฒน์. (2561). ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์กลองเพล ตำบลพังขว้าง. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.

พระมรกต อิสฺสโร. (2561). เลขานุการศูนย์เรียนรู้และอนุรักษ์กลองเพล ตำบลพังขว้าง. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.

พระเอนก อนาวิโล. (2561). เจ้าอาวาสวัดป่าสามัคคีธรรม. สัมภาษณ์. 17 มิถุนายน.

มติชนออนไลน์. (21 มิถุนายน 2559). รู้จักไหม? “ตีกลองแลง” สัญญาณเตือนคนเข้าวัด – แซ่ซ้องถึงเทวดาว่าศาสนายังอยู่. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.matichon.co.th/entertainment/news_182297

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ยศ สันตสมบัติ. (2556). มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยา สายสุด. (2536). สื่อสัญญาณพื้นบ้านอีสานในเขตอำเภอหัวตะพาน. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

สวิง บุญเจิม. (ม.ป.ป.). ตำรามรดกอีสาน. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2528). ดนตรีพื้นบ้านและศิลปะการแสดงของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Bignell, J. (1997). Media Semiotics: An Introduction. New York: Manchester University Press.

White, L., 1959. The Evolution of Culture. New York: McGraw-Hill.