ระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้ กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระมหาคณาวุฒิ อคฺคปญฺโญ บำรุงทรัพย์
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้ กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อประเมินสภาพปัญหาและความต้องการระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 3) เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา 4) เพื่อประเมินและรับรองระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญา ประกอบไปด้วย 5 ด้าน คือ (1) ด้านการมีวินัย (2) ด้านการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (3) ด้านการดำรงตนอย่างเหมาะสม (4) ด้านความรักและศรัทธาในวิชาชีพและ (5) ด้านความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2) ผลการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ = 4.15, S.D. = 0.42 3) ผลการพัฒนาระบบ พบว่า ระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาที่พัฒนาขึ้นใน 5 ด้าน เป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษา อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 4) ผลการประเมินและรับรองระบบ จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม เป็นไปได้ สามารถนำไปใช้และเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาได้

Article Details

How to Cite
อคฺคปญฺโญ บำรุงทรัพย์ พ. . ., & วงศ์สุวรรณ น. . (2024). ระบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ความเป็นครูสังคมศึกษาโดยใช้ กระบวนการพุทธจิตตปัญญาศึกษาสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย : . วารสารปรัชญาอาศรม, 6(2), 150–163. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/jpar/article/view/3976
บท
บทความวิจัย

References

กรมการฝึกหัดครู..(2515)..มาตรการพื้นฐานบางประการสำหรับการสร้างครูที่ดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). ข้อคิดเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดเพื่อครู (คำบรรยายระหว่างดำรงตำแหน่งประธานกรรมการครุสภา). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา, 130 (ตอนพิเศษ), [72].

Kathryn Byrnes. (2009). Portraits of contemplative teaching: A third way.United States : University of Colorado.

Nozawa, A. (2004). Contemplative practices in teacher education. Journal of Inservice Education. 30 (2), 193 - 207.

Roeser, R. W., & Peck, S. C. (2009). An education in awareness: Self, motivation, and self-regulated learning in contemplative perspective. Educational Psychologist. 44 (2), 119 - 136.