กองบุญสุขภาวะ สังฆะเพื่อสังคม ส่งเสริมสวัสดิการพระสงฆ์นักพัฒนา

Main Article Content

กิตติ์ ขวัญนาค
พระอำนาจ พุทธอาสน์
ปุระวิชญ์ วันตา

บทคัดย่อ

 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการด้านสุขภาวะของพระสงฆ์นักพัฒนาในยุคปัจจุบัน   การจัดสวัสดิการสังคมในสังคมไทย โดยภาพรวมมีีเป้าหมายป้องกันปัญหาความเดือดร้อนหรือการบำบัดรักษาโดยใช้้รููปแบบการสงเคราะห์์ การป้องกันปัญหาซึ่งเน้นการพัฒนาความรู้้และฝึกอาชีพ และการพัฒนาศักยภาพความคิดและจิตใจ โดยการพัฒนาให้มีีอารยะธรรมซึ่งมุ่งเน้น ให้คนมีสวัสดิการชุมชนขั้นต่ำ คือ การจัดสวัสดิการสังคมที่่ครอบคลุมถึงการสงเคราะห์สังคม การจัดทำนโยบายสวัสดิการสังคม รวมทั้งการมองสวัสดิการสังคมเชิงนโยบายทางสังคมอย่างเป็นองค์์รวมโดยใช้้คนเป็นศูนย์์กลาง จึงสามารถป้องกันปัญหาและพัฒนาได้ ปัจจุบันการจัดสวัสดิการในพระสงฆ์ประเทศไทยยังไม่ได้รับการดูแลที่ทั่วถึง เนื่องจากยังมีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งในประเทศไทยที่อาพาธ ขาดการดูแล การอุปัฏฐาก     ปัจจุบันจึงมีกลุ่มพระสงฆ์นักพัฒนา ในนามกลุ่ม เครือข่ายสังฆเพื่อสังคม 4 ภาค ได้ดำเนินงานจัดตั้งกองบุญสุขภาวะ สังฆะเพื่อสังคม เพื่อดำเนินการส่งเสริมการจัดสวัสดิการด้านสุขภาวะของพระสงฆ์นักพัฒนาเป็นหลัก  มีกระบวนการทำงานของกลุ่มพระสงฆ์นักพัฒนาในสังคมไทยที่พยายามดำเนินการเพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมให้เกิดความเท่าเทียมและทั่วถึงกับพระสงฆ์ไทยทั่วประเทศ  ในมิติ การจัดสวัสดิการด้านการเงิน จากการสะสมทรัพย์ภายในกลุ่ม ด้วยกองบุญสุขภาวะ อาทิ  พิธีทอดผ้าป่าสังฆะสามัคคีทุกปี เพื่อสมทบทุนใน กองบุญสุขภาวะสังฆะเพื่อสังคม ในการดูแลพระสงฆ์นักพัฒนาชุมชน พระสงฆ์นักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานเพื่อสังคม อาพาธ อยู่ทั่วประเทศ  ผลักดันนำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยที่ดีและมีคุณภาพ  ตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติพุทธศักราช 2560

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระมหาประพันธ์ ไทยใหญ่. (2553). แนวทางการจัดสวัสดิการสำหรับพระสงฆ์ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์

ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารและ นโยบายสวัสดิการสังคม). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาสาทร ธมฺมาทโร และคณะ. (2561). การอุปัฏฐากภิกษุอาพาธ: บทวิเคราะห์ในมิติพระพุทธศาสนา วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10), 4686 - 4696.

ประเสริฐ ปอนถิ่นและคณะ. (2564). แนวทางการมีีส่วนร่วมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขากับการจัดสวัสดิการสังคมของชุมชนบนพื้นที่่สูง. วารสารพุทธศาสตร์์ศึกษา. 12(2), 155-169.

พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโทและคณะ. (2561). สวัสดิการสังคมเชิงพุทธรูปแบบและการสร้างพลังชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 6 (2), 445 - 459.

ประทีป พืชทองหลาง และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2561). กัลยาณมิตร: เพื่อนแท้บนเส้นทางแห่งอริยมรรค. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3 (2), 354-365.

มหาเถรสมาคม. (2560). การจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จากhttp://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=7927

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

_______________________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สันติ เมืองแสง. (2556). พระพุทธศาสนากับสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: J.PRINT.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โอเอส พรินติ้ง เฮาส์ จำกัด.

มูลนิธิสังฆเพื่อสังคม. (2565).สังฆเพื่อสังคมสุขภาวะ. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2566 จาก, https://sdnthailand.com/19489.html