แนวคิดเกี่ยวกับไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมร่วมสมัยของวัดร่องขุ่น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อำนาจ ขัดวิชัย
พุระอธิวัฒน์ รตนวณฺฺโณฺ
จัันทรัสมิ์ ตาปูลิง
ลิปิกร มาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรม และ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมของวัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาและความสำคัญของไตรภูมิในงานพุทธศิลปกรรมเป็นคติความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาพุทธศาสนาที่แสดงออกมาเป็นองค์ความรู้ด้วยวิธีการสร้างจินตภาพที่สะท้อนถึงรูปลักษณ์ของงานด้านพุทธศิลปกรรม โดยอาศัยสัญลักษณ์ต่างๆ ในทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับไตรภูมิ อันประกอบด้วย กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ที่มีรูปแบบและเทคนิคการสร้างสรรค์ที่หลากหลายสะท้อนความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สัมพันธ์กับงานพุทธศิลป์ ที่ปรากฏอยู่ในพุทธศาสนสถาน


2) ไตรภูมิที่สะท้อนในงานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่วัดร่องชุน จังหวัดเชียงราย เป็นผลงานที่นำมาสร้างสรรค์บนพื้นฐานความเข้าใจของแนวคิดแบบโบราณที่ผสมผสานกับแนวความคิดที่เป็นรูปแบบใหม่ แสดงออกในลักษณะงานที่ร่วมสมัยเป็นรูปแบบที่เป็นปัจเจกทัศนะที่ใส่ความเป็นตัวตนของอาจารย์เฉลิมชัยลงไปในงานออกแบบ ที่สื่อให้เห็นถึงการรับรู้พุทธปรัชญา และการสื่อความหมายภายใต้บริบทในสังคมปัจจุบัน


ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างจากในอดีต ลักษณะกระบวนการดังกล่าวมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบของช่างไทยในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (1 พฤษภาคม 2562). ประกาศเกียรติคุณ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.culture.go.th/subculture8/attachments/article/161/CHALERMCHAI%20KOSITPIPAT.pdf

คณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเชียน. (2528). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

เจตนา นาควัชระ. (2546). ศิลป์ส่องทาง. กรุงเทพมหานคร: คมบาง.

เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. (2549). สร้างพุทธศิลป์เพื่อแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ดาราพร เหมือดนอก. (2541). “เครื่องใช้ในจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดบ้านยางตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นางสาวจุฑมาศ อินทรรำพันธ์. (2552). “แนวความคิดเรื่องไตรภูมิที่สะท้อนในงานศิลปะและสถาปัตยกรรม วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญส่งชัย สิงห์กานานนท์. (2541). “ข้อสังเกตต่อทฤษฎีเชิงสร้างสรรค์ทางศิลปะ”. วารสารอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน.

พระพงศักดิ์ อภิชฺชโว (รุ่งสง). (2549). “ศึกษาบทบาทสื่อจิตรกรรมฝาผนังในการเผยแผ่พุทธธรรมในพระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดร่ำเปิง (ตโปตาราม). (2556). พุทธศิลป์ล้านนา. ลำพูน: ณัฐพลการพิมพ์.

สมชาติ มณีโชติ. (2529). จิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2539). สัญลักษณ์ในงานจิตรกรรมไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 24. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.