แนวคิดเสรีภาพและการเลือกในปรัชญา ฌอง-ปอล ซาร์ตร์

Main Article Content

ยี่ดวง ศรีคำ
พระมหาดนัยพัชร์ คัมฺภีร์ปญฺฺโญ (ยุนิรัมย์)

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของแนวคิดเสรีภาพและการเลือกในปรัชญาตะวันตก 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและการเลือกในปรัชญาของฌอง-ปอล ซาร์ตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและผลกระทบเสรีภาพและการเลือกในปรัชญา ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคองเสรีถาพและการเลือกนั้น ซาร์ตร์ให้แนวคิดไว้ว่า ข้อจำกัด และปัญหาคือ การที่มนุษย์จําเป็นต้องเลือกกระทําเป็นสิ่งมีคุณค่านั้น มาจากการที่เขาปฏิเสธการยึดหลัก ศีลธรรมหรือหลักการสากลใดๆ เพราะมนุษย์มีเหตุผลของตนเองและต้องกระทําไปตามสถานการณ์เงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเป็นผลพวงมาจากการเมืองและกลุ่มคนในสังคม การเลือกเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถไม่เลือกไม่ได้  มิเช่นนั้นมนุษย์จะตกไปอยู่กลุ่มเดียวกันกับวัตถุสิ่งของการไม่เลือกของมนุษย์โดยปราศจากสาเหตุหรือปัจจัยบังคับหรืออิทธิพลใดๆ สิ้นเชิง สำหรับมนุษย์ การมีชีวิตอยู่ก็คือการเลือก โดยนัยเสรีภาพในความหมายของซาร์ตร์นั้น มนุษย์มีความสามารถที่จะเลือกกระทําสิ่งใดได้ตามเจตจํานงของตนเอง และตัดสินใจอยู่เสมอ เพราะสัตตะสำหรับตัวเองนั้น ไม่สามารถอยู่ในสองสถานการณ์พร้อมๆ กันได้ ดังนั้นจึงต้องตัดสินใจ “เลือก” เพื่อที่จะทําอะไรบางอย่าง ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กีรติ บุญเจือ. (2551). คู่มือจริยศาสตร์ตามหลักสากล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ห้างหุ่นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง.

พระธรรมโกศึาจุารย์ (ประย่ร ธมฺมจุิตโต). (2551) เปรียี่บเทียบแนวคิดพุทธีทาสกับซาตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6.

พินิจ รัตนกุล. (2556). ปรัชญาชีวิต ฌอง-ปอล ซาร์ตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

สามัญชน.

Jean - Paul Sartre. (1985). Existentialism And Humanism. New York: Kensington Publishing Gorp