แนวทางการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม สู่การแบ่งปันตามหลักพุทธธรรม ของร้านของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์

Main Article Content

สิริรักษ์ เพชรรัตน์กุลธนา
พระครูประวิตรวรานุยุต ธมฺมวโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการทำธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ ตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมตามหลักพุทธธรรมนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการของภาคธุรกิจและนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงินโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาคเพียงอย่างเดียว มีหลักพุทธธรรมที่เป็นฐาน เช่น ปาปณิกธรรม 3 สังคหวัตถุ 4 มิจฉาวณิชชา 5 เป็นต้น
2) แนวคิดการบริหารจัดการธุรกิจของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ เกิดขึ้นตามแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อแก้ปัญหาของเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ให้ได้มีความรู้ สร้างจิตสำนึกที่ดี สนับสนุนภาคีเครือข่ายเพื่อสังคม สร้างพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทำงานด้วยความมุ่งมั่นตามหลักพุทธธรรมคือมีอิทธิบาท 4 เป็นตัวขับเคลื่อนงานจนสำเร็จ
3) แนวทางในการส่งเสริมการทำธุรกิจเพื่อสังคมสู่การแบ่งปันของร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ ตามหลักพุทธธรรม ได้แก่การส่งเสริมผ่านหลัก M 5 คือ Man, Money, Material, Management และ Morality ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่สังคมในด้านต่างๆ เกิดความศรัทธาแก่องค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆที่ช่วยระดมทุน “ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี” ร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ เป็นต้นแบบ ธุรกิจเพื่อสังคม สู่การแบ่งปันตามหลักพุทธธรรม อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย