การประดิษฐ์พานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม

Main Article Content

อานันตยา ริอินทร์
อินทิรา นะมาเส
สุกัญญา จันทกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์พานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการประดิษฐ์พานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบภาพร่าง SKETCH DESIGN การออกแบบพานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม จำนวน 3 รูปแบบ ได้แก่ SKETCH DESIGN–A SKETCH DESIGN-B และSKETCH DESIGN-C เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พิจารณารูปแบบของพานพุ่ม ทั้ง 3 แบบ จากพันธุ์ไหม รูปแบบพาน สีธรรมชาติ และการประดิษฐ์ส่วนประกอบของพาน ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำพานพุ่มที่ประดิษฐ์แล้วสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จากบุคคลทั่วไป จำนวน 50 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยมีผลการวิเคราะห์พบว่าการออกแบบ และขั้นตอนการประดิษฐ์พานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม ผลการศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่า พันธุ์ไหมที่เหมาะสมในการประดิษฐ์พานพุ่มคือพันธุ์ไหม ลูกผสมเหลืองไพโรจน์ เนื่องจากรังไหมพันธุ์ลูกผสมเหลืองไพโรจน์มีรังขนาดใหญ่ และลอกง่าย แยกสีแต่ละชั้นได้ชัดเจน รูปแบบพานที่เหมาะสมในการประดิษฐ์ควรเป็น SKETCH DESIGN – A เนื่องจากมีองค์ประกอบที่น่าสนใจดูโปร่งตามีความอ่อนช้อยจากตาข่ายคลุมพานพุ่ม รังไหมสีธรรมชาติ และส่วนประกอบต่างๆ ของพานพุ่มที่ประดิษฐ์จากรังไหม ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์การประดิษฐ์พานพุ่มปล่อยกลิ่นจากรังไหม ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในความเหมาะสมของการนำรังไหมเหลืองไพโรจน์มาประดิษฐ์ มีค่าเฉลี่ย 4.56 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคุณค่าและการนำไปใช้ มีความพึงพอใจในด้านการนำไปใช้ในงานพิธีต่างๆ มีค่าเฉลี่ย 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านราคา ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในราคา 4,000 บาท มีค่าเฉลี่ย 4.02 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสถานที่จัดจำหน่าย มีความพึงพอใจในตลาดออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมหม่อนไหม. 2558. พันธุ์ไหมอนุรักษ์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

ชูศักดิ์ จรูญ ส วัสดิ์. 2545. ระบ บ เศรษฐกิจ และพัฒนาการเศรษฐกิจไทย. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพฯ.

พิมพ์พรรณ ทรัพย์ยิ่ง. 2544. สถิติที่ใช้ในการวิจัย. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. “พานพุ่ม สุคนธบำบัด” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. 831,843,672,124,2127

รุ่งฤทัย รำพึงจิต, อภิรัติ โสฬศ และ นิอร ดาวเจริญพร. 2560. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าด้วยเทคโนโลยีตกแต่งกลิ่นสำหรับกลุ่มอาชีพสหกรณ์ศิลปะประดิษฐ์ จังหวัดนนทบุรี.” คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เลย. 2556. การเลี้ยงไหม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.qsds.go.th/, 24 ตุลาคม 2562.

สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 จังหวัดแพร่. 2556. ผลิตภัณฑ์จากไหม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://www.qsds.go.th/, 24 ตุลาคม 2562.