การประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย

Main Article Content

ดรุณี โอวจริยาพิทักษ์
ณัฐยุทธ์ ศิริตั้งมงคลชัย
อพิศาล ไกรสรรักษ์วงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอยและความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อเครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย โดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย ออกแบบภาพร่างความคิดเครื่องแขวนจำนวน 1 รูปแบบ และออกแบบร่างความคิด ลวดลายตาข่าย ดอกทัดหู และอุบะ จำนวน 3 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาเลือก จากนั้นนำรูปแบบที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นชอบมากที่สุด มาประดิษฐ์เป็นเครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย จำนวน 1 ชิ้น นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิเคราะห์พบว่า 1. ลวดลายตาข่าย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เลือกรูปแบบที่ 1 ลายหกก้านหกดอก โดยให้เหตุผลว่า เป็นลวดลายที่มีความชัดเจนและเหมาะสมกับส่วนที่เป็นโครงด้านข้างของวิมานแท่นดอกทัดหู เลือกรูปแบบที่ 2 โดยให้เหตุผลว่า มีความละเอียด มีกลีบคล้ายกับดอกไม้สด คือ ดอกบานชื่น สำหรับอุบะ ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านเลือกรูปแบบที่ 3 โดยให้เหตุผลว่า มีความคล้ายกับดอกจำปา เมื่อนำมาประกอบเข้ากับดอกทัดหูจะมีความลงตัว 2. ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ พึงพอใจในความสวยงามของเครื่องแขวน อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.80 ด้านวัสดุ พึงพอใจในการนำเปลือกหอยสังข์สีขาวมาทดแทนหัวดอกพุดและเปลือกหอยสังข์สีน้ำตาลมาทดแทนก้านพุดในการร้อยตาข่ายต่อกรอบ ตาข่ายหน้าช้าง และตาข่ายโครงส่วนล่าง อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.84 ด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอย พึงพอใจในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องแขวน อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.28 และด้านสถานที่จัดจำหน่าย พึงพอใจในการจัดจำหน่ายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Facebook, Instagram อยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.62

Article Details

How to Cite
โอวจริยาพิทักษ์ ด. ., ศิริตั้งมงคลชัย ณ. ., & ไกรสรรักษ์วงศ์ อ. . (2022). การประดิษฐ์เครื่องแขวนไทยจากเปลือกหอย. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน, 2(2), 24–34. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/article/view/4405
บท
บทความวิจัย

References

ชยุดา ติปะละ และ ณัฐริกา เมทา. 2557. ดอกไม้ประดิษฐ์จากเปลือกหอยแครง. โครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง.

ปิยรัตน์ รอดแก้ว และ เกสร บริรักษ์. 2558. เครื่องแขวนประยุกต์จากลูกปัดด้วยลวดลายชุดมโนราห์. ปริญญาตรี โครงงานพิเศษสาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

มณีรัตน์ จันทนะผะลิน. 2527. หนังสือชุดมรดกไทย เล่มที่ 4 เครื่องแขวนไทยดอกไม้สด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์.

รัตนลักษณ์ ปัญจวุฒิพัฒน์. 2547. งานดอกไม้ในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : เศรษฐศิลป์.

ศรีสมร สุวรรณโมกข์ และ จุไรรัตน์ พัฒนภากรณ์. 2557. เครื่องแขวนจากเศษผ้าไหม.ปริญญาตรี โครงงานพิเศษสาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2552. รายงานการประชุมระดมความคิดเห็นต่อร่างรายการชนิดพันธ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกลุ่มหอย (Mollusca). กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.